สุขภาพแม่

การผดุงครรภ์

มาทำความรู้จัก “ผดุงครรภ์” ให้มากขึ้นเนื่องในวันผดุงครรภ์สากล

by

มาทำความรู้จัก “ผดุงครรภ์” ให้มากขึ้นเนื่องในวันผดุงครรภ์สากล วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวัน “ผดุงครรภ์” สากลค่ะ ในวันนี้ Motherhood ก็จะพาคุณ ๆ ไปทำความรู้จักกับหน้าที่นี้ให้มากขึ้น เพราะพวกเขาเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้ตั้งครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด รวมทั้งดูแลลูกน้อยของคุณในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังคลอดอีกด้วย มาทำความรู้จักพวกเขาให้ดียิ่งขึ้นกันเถอะค่ะ ผดุงครรภ์คืออะไร ? แต่ดั้งเดิมแล้ว พยาบาลผดุงครรภ์เป็นพยาบาลที่ได้รับการศึกษาพิเศษในหลักสูตรการผดุงครรภ์จากสถานศึกษาที่เป็นที่ยอมรับในประเทศนั้น ๆ และเป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพผดุงครรภ์ให้สามารถทำการผดุงครรภ์ได้…

งานวิจัยเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

งานจิวัยเผยถึงวิธีใหม่ในการวินิจฉัยโรค “เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่”

by

งานจิวัยเผยถึงวิธีใหม่ในการวินิจฉัยโรค “เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่” นักวิจัยค้นพบวิธีใหม่ในการวินิจฉัยโรค “เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่” ซึ่งอาจนำไปสู่การวินิจฉัยและการรักษาโรคเรื้อรังที่ดีขึ้นและเร็วขึ้น สำหรับทุกคนที่มีโรคนี้ ตัวโรคทำให้เกิดความเจ็บปวดในทั้งสองด้าน อย่างแรกคือความเจ็บปวดทางกายซึ่งอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอได้ และประการที่สองคือวิธีที่ชุมชนทางการแพทย์มองโรคนี้ ในอดีตมันถูกมองข้ามว่าเป็น ‘โรคของผู้หญิง’ แม้ว่าจะส่งผลกระทบต่อคนข้ามเพศและคนนอนไบนารี่ด้วย นอกจากนี้ยังมีความไม่เท่าเทียมกันทางเชื้อชาติในการรักษาโรคโดยแพทย์บางคน หากการถูกมองข้ามไม่ได้ทำให้หงุดหงิดเพียงพอ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ถือเป็นเรื่องต้องห้าม เนื่องจากเป็นปัญหาการมีประจำเดือนและไม่มีความสำคัญมากพอเพราะไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่การวินิจฉัยจนถึงการรักษาอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วย แต่นักวิจัยกำลังท้าทายสิ่งเหล่านี้ด้วยการศึกษาใหม่ที่พยายามค้นหาวิธีวินิจฉัยโรค โดยไม่ต้องใช้วิธีการรุกรานและวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ก็เป็นอะไรที่น่าทึ่ง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร ? คือภาวะที่เยื่อบุผนังมดลูกเจริญภายนอกมดลูก ทำให้เกิดเยื่อบุหนาที่สลายตัวกลายเป็นเลือดประจำเดือนไปเรื่อย ๆ…

รู้จักภาวะตายคลอด

ภาวะตายคลอด เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

by

ภาวะตายคลอด เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่กลับเป็นสิ่งที่น่ากลัวและรับได้ยากสำหรับทั้งพ่อแม่และแพทย์ก็คือ “ภาวะตายคลอด” แม้ว่าจะยังมีหลายคนในประเทศไทยได้ยินเกี่ยวกับสิ่งนี้ไม่มากนัก ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะมาทำความรู้จักมันให้มากขึ้นกันค่ะ ภาวะตายคลอด (Stillbirth) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์หรือการคลอดบุตร และมีการให้คำจำกัดความที่หลากหลาย รวมทั้งมีความคาบเกี่ยวกับการแท้งบุตรด้วย การให้คำจำกัดความของภาวะนี้ส่วนใหญ่จะขึ้นกับบริบทของแต่ละประเทศ หากเกิดภาวะนี้ในผู้ตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ยังน้อยอยู่ เป็นช่วงที่ถ้าทารกคลอดออกมายังไงแล้วก็ไม่สามารถเลี้ยงให้รอดได้ แบบนี้เรียกว่าการแท้งบุตร แต่หากพบในอายุครรภ์ที่มากขึ้น เป็นช่วงที่ถ้าทารกคลอดออกมาก็สามารถเลี้ยงให้รอดได้ แบบนี้จะนับเป็นภาวะตายคลอด ในบางประเทศแถบยุโรปและที่อเมริกาได้กำหนดจุดตัดของอายุครรภ์เอาไว้ที่ 20-24 สัปดาห์…

ความเชื่อมโยงการแพ้ท้อง

ความเชื่อมโยงระหว่าง “การแพ้ท้อง” และการแท้งบุตร

by

ความเชื่อมโยงระหว่าง “การแพ้ท้อง” และการแท้งบุตร อาการคลื่นไส้ในตอนเช้าหรือ “การแพ้ท้อง” เกิดขึ้นในสตรีมีครรภ์ประมาณ 63% และมักเป็นอาการรุนแรงที่สุดในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ และอาการจะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วงตั้งครรภ์ตอนปลาย จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่มีอาการคลื่นไส้ตอนเช้ามักจะมีอัตราการแท้วบุตรและผลเสียอื่น ๆ น้อยลง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ว่านี่เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางสถิติ ผู้หญิงหลายคนที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในตอนเช้าก็มีลูกที่แข็งแรงในระยะยาว ความเสี่ยงต่อการแท้งและการแพ้ท้อง การศึกษาในปี 2559 มุ่งเป้าไปที่ผู้หญิงที่เพิ่งแท้งลูกเพื่อตรวจสอบว่ามีอาการคลื่นไส้ในตอนเช้าหรือไม่ ในสตรีเหล่านี้ (ซึ่งการตั้งครรภ์ได้รับการยืนยันโดยการวัดเอชซีจี) โอกาสที่พวกเขาป่วยในตอนเช้าจะต่ำกว่าในสตรีที่ไม่มี hCG และอาเจียนถึง 50-75%…

วัคซีนบูสเตอร์โควิด

สิ่งที่คนท้องต้องรู้เกี่ยวกับ “วัคซีนบูสเตอร์”

by

สิ่งที่คนท้องต้องรู้เกี่ยวกับ “วัคซีนบูสเตอร์” หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ได้รับวัคซีนสำหรับ COVID-19 ครบแล้วและตอนนี้กำลังเตรียมที่จะรับ “วัคซีนบูสเตอร์” หรือที่รู้จักกันในนามวัคซีนเข็มกระตุ้น ในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ คุณอาจจะสงสัยว่าไตรมาสไหนถึงจะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด ได้รับวัคซีนกระตุ้นเป็นวัคซีนตัวไหนถึงจะดีกว่ากัน แล้วเป็นไปได้ไหมที่จะรับวัคซีนนี้หลังคลอดน้องแล้ว วันนี้ Motherhood นำเอาคำตอบของคำถามมากมายเหล่านี้มาฝากค่ะ หากคุณกำลังตั้งครรภ์และได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาแล้ว 2 เข็ม คุณอาจได้รับคำสั่งให้ได้รับการฉีดบูสเตอร์เพิ่มอีก หากคุณยังไม่ได้ไปฉีดเพราะว่ามีความสงสัยข้องใจอยู่หลายอย่าง นี่คือคำตอบที่จะคลายข้องสงสัยของคุณ ควรรับวัคซีนกระตุ้นช่วงตั้งครรภ์หรือไม่ ? ตั้งครรภ์อยู่ควรเว้นระยะระหว่างเข็มอย่างไร…

กินอินทผาลัมตอนท้อง

8 ประโยชน์ของอินทผาลัมในระหว่างตั้งครรภ์และมันช่วยให้คลอดง่ายขึ้นด้วย

by

8 ประโยชน์ของอินทผาลัมในระหว่างตั้งครรภ์และมันช่วยให้คลอดง่ายขึ้นด้วย หลายคนมักกลัวว่าจะเป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์ แต่เชื่อมั้ยว่าคุณสามารถบริโภค “อินทผาลัม” ระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยในปริมาณที่พอเหมาะ ผลไม้แห้งเหล่านี้มีแคลอรี่ที่ดีและสามารถให้สารอาหารที่เพียงพอแก่มารดาและทารก นอกจากนี้ ยังเป็นอาหารว่างในอุดมคติสำหรับคนรักความหวานอีกด้วย เพราะน้ำตาลในนั้นสามารถสลายตัวเพื่อให้ได้รับพลังงานในปริมาณที่เหมาะสมโดยไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น บทความนี้จะบอกคุณเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกินอินทผลัมระหว่างตั้งครรภ์ ความปลอดภัยและประโยชน์ที่ได้รับ การกินอินทผาลัมช่วยเรื่องการคลอดได้อย่างไร ? การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการกินอินทผาลัมในช่วง 2-3 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์สามารถส่งผลดีต่อการคลอด หลักฐานจากการทดลองควบคุมแบบสุ่มได้แสดงให้เห็นว่าผลอินทผาลัมที่บริโภคเข้าไปสามารถช่วยทำให้ปากมดลูกเปิด ซึ่งอาจลดระยะเวลาของการคลอด ดังนั้นจึงช่วยลดความจำเป็นในการให้ออกซิโทซินและพรอสตาแกลนดินเพื่อกระตุ้นการคลอดบุตร ปริมาณน้ำตาลสูงในอินทผาลัมสามารถให้พลังงานระหว่างคลอด และอาจช่วยส่งเสริมการหดตัวของมดลูกโดยการเพิ่มความไวของมดลูกต่อออกซิโทซิน การกินอินทผาลัมอาจช่วยผ่อนคลายการคลอดและลดการตกเลือดหลังคลอด ข้อมูลโภชนาการ…

อาการหนาวใน

“หนาวใน” เพราะไม่ได้อยู่ไฟหลังคลอดรึเปล่า ?

by

“หนาวใน” เพราะไม่ได้อยู่ไฟหลังคลอดรึเปล่า ? คุณแม่หลายคนอาจจะเคยได้ยินความเชื่อโบราณที่ว่า หากไม่ได้อยู่ไฟหลังคลอด ก็จะเกิดอาการ “หนาวใน” เป็นความหนาวที่เข้าไปถึงกระดูก ไม่ต้องอยู่ในหน้าหนาวก็รู้สึกหนาวได้ แต่ความเป็นจริงแล้วมันเกิดจากการที่ไม่ได้อยู่ไฟหรือเปล่า หรือมีสาเหตุมาจากอะไรแน่ มาติดตามกันค่ะ อาการหนาวในคืออะไร ? ในตำราแพทย์แผนไทยของมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้อธิบายถึงอาการหนาวในไว้ว่า ตามตำราแพทย์แผนไทยโบราณมีความเชื่อว่าการคลอดบุตรทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อน เสียธาตุไฟ ร่างกายเสียความสมดุล และอาการนี้ยังสามารถเกิดกับผู้ที่เข้าวัยหมดประจำเดือนหรือประจำเดือนหมดไปแล้วก็ได้ด้วย อาการที่พบคือ หนาวสั่นสะท้านไปถึงกระดูก มือเท้าเย็น มือเขียว ปากเขียว…

สูตรคุกกี้เรียกน้ำนม

สุดยอด “คุกกี้เรียกน้ำนม” มี 2 สูตรให้เลือก

by

สุดยอด “คุกกี้เรียกน้ำนม” มี 2 สูตรให้เลือก “คุกกี้เรียกน้ำนม” เหล่านี้เป็นของว่างที่เหมาะสำหรับบรรดาแม่ ๆ ที่กำลังให้นม เพราะคุกกี้สูตรวีนแกนและอีกทั้งยังเป็นกลูเต็นฟรีแสนอร่อยเหล่านี้อัดแน่นไปด้วยสารอาหารจากข้าวโอ๊ต เมล็ดแฟลกซ์ และยีสต์ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเพิ่มปริมาณน้ำนม นอกจากนี้ ยังมีรสชาติเหมือนคุกกี้ช็อกโกแลตชิปข้าวโอ๊ตทั่วไปที่เป็นของโปรดของใครหลายคนด้วย สูตรคุกกี้สำหรับคุณแม่ที่ให้นมเองนี้เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่และทุกคนที่กำลังมองหาคุกกี้เพื่อสุขภาพ Motherhood เลือกสูตรที่ไม่ต้องใช้เตาอบมาด้วยนะ สำหรับคนที่ไม่มีเตาอบจะได้ลองทำกันดู คุกกี้เรียกน้ำนมคืออะไร ? บางคนอาจจะสงสัยว่าอะไรที่ทำให้คุกกี้พวกนี้เป็นคุกกี้ที่มีคุณสมบัติเร่งน้ำนมได้ เพราะว่าส่วนผสมของมันล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นน้ำนม ซึ่งทราบกันดีอยู่แล้วว่าช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่…

ทำโบท็อกซ์ช่องคลอด

โบท็อกซ์ช่องคลอด ช่วยแก้ปัญหาอุ้งเชิงกรานได้จริงเหรอ ?

by

โบท็อกซ์ช่องคลอด ช่วยแก้ปัญหาอุ้งเชิงกรานได้จริงเหรอ ? การทำ “โบท็อกซ์ช่องคลอด” และกระเพาะปัสสาวะน่ะเหรอ ? ตอนนี้กำลังเป็นกระแสที่แพทย์ นักกายภาพบำบัด และผู้ป่วยพูดคุยกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัตถุดิบหลักในเครื่องสำอางเมื่อจะนำมาใช้กับพื้นที่เหล่านั้น มีอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึง หรือเราทำกันไปเพื่ออะไร วันนี้ Motherhood จะพาคุณไปหาคำตอบด้วยกันค่ะ หากคุณเคยมีลูกหรือเคยมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานมาก่อน คุณคงเคยได้ยินเกี่ยวกับความผิดปกติของอุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นอาการที่หมายถึงการไม่สามารถผ่อนคลายหรือหดตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้อย่างเหมาะสม มันเป็นภาวะแทรกซ้อนทั่วไปของเหตุการณ์สำคัญ ๆ เช่น การคลอดบุตรและการบาดเจ็บ และอาจพบได้บ่อยในนักกีฬา (ประมาณ…

รู้จักการคลอดที่หยุดชะงัก

การคลอดที่หยุดชะงัก: สาเหตุที่พบและสิ่งที่คุณทำได้

by

การคลอดที่หยุดชะงัก: สาเหตุที่พบและสิ่งที่คุณทำได้ “การคลอดที่หยุดชะงัก” อาจนำไปสู่การผ่าคลอดได้ แม้ว่าจะมีเครื่องหมายที่เป็นสากลบางประการสำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ของการคลอด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับการคลอดในลักษณะเดียวกันหรือในอัตราที่เท่ากัน เมื่อบุคคลอยู่ในระหว่างการคลอดที่กำลังดำเนินอยู่และกระบวนการนี้ช้าลงหรือหยุดลง เรียกว่า ‘การคลอดที่หยุดชะงัก’ สาเหตุของมันอาจรวมถึงการหดตัวช้าลง การหดตัวโดยไม่มีการขยาย หรือทารกไม่ไหลตัวลง แม้ว่าการหดตัวยังคงเกิดขึ้นก็ตาม ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้การคลอดหยุดดำเนินไป รวมทั้งสิ่งที่คุณสามารถทำได้หลังจากจุดนั้น การคลอดที่ติดขัดหรือหยุดชะงักอาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจและท้อแท้ แต่ข่าวดีก็คือ โดยปกติแล้วจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ และมักจะแก้ไขได้ นี่คือทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับมัน การคลอดที่หยุดชะงักคืออะไร…