อาการตอนตั้งครรภ์

อาการปวดหัวตอนท้อง

ปวดหัวตอนท้อง จัดการอย่างไรให้อยู่หมัด

by

ปวดหัวตอนท้อง จัดการอย่างไรให้อยู่หมัด คุณไม่จำเป็นต้องทนทุกข์กับอาการ “ปวดหัวตอนท้อง” อีกต่อไป แม้ว่าก่อนหน้านี้คุณเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ที่จัดการกับอาการปวดหัวด้วยยาแก้ปวดที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ แต่ขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์เช่นนี้ ประเภทของยาที่คุณสามารถใช้ได้จะถูกจำกัด เพียงแค่คุณป้องกันตัวเองด้วยวิธีการที่ปลอดภัยและได้ผลดีเหล่านี้ อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นตอนท้องก็จะดีขึ้นได้ไม่ยาก โดยทั่วไปอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่ถือเป็นอาการปวดศีรษะแบบตึงเครียด และเรามักจะอธิบายว่าเป็นอาการปวดตึงบริเวณรอบศีรษะ และบางครั้งความปวดก็อยู่ที่ด้านหลังคอ ปัจจัยทางอารมณ์เช่นความเครียดมักเป็นสาเหตุ แต่ก็มีสาเหตุทางกายภาพหลายประการเช่นกัน อาการปวดตาจากแสงที่ไม่เพียงพอหรือนั่งหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไปอาจทำให้ปวดหัวได้ อาการปวดหัวไซนัสที่ปวดบริเวณหลังหน้าผากแก้มหรือดั้งจมูกนั้นพบได้น้อยกว่า แต่จะเกิดขึ้นหากมีการติดเชื้อหรือภูมิแพ้ ทำให้เกิดการอักเสบที่ปิดกั้นไม่ให้น้ำมูกไหลลงสู่จมูก สุดท้ายคืออาการปวดหัวไมเกรน หากคุณทนได้ คุณจะได้รู้ว่าคำว่าปวดหัวไม่ค่อยได้ถูกอธิบายว่าเป็นความเจ็บปวดแบบที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับอาการคลื่นไส้หรือความไวต่อแสงหรือเสียงรบกวน สิ่งต่าง…

ปกติลูกดิ้นตอนกี่เดือน

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ? เริ่มนับยังไง คุณแม่ต้องรู้

by

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ? เริ่มนับยังไง คุณแม่ต้องรู้ การดิ้นของทารกในครรภ์นั้นสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกให้คุณแม่ทราบว่าลูกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่ แต่สิ่งที่หลายคนยังไม่แน่ใจคือ “ลูกดิ้นตอนกี่เดือน”  ยิ่งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ การนับลูกดิ้นจะมีความสำคัญอย่างมาก เพราะจำนวนการดิ้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าลูกของคุณมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ในระหว่างการตั้งครรภ์ วันนี้ Motherhood จึงรวบรวมเอาสิ่งที่คุณแม่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับการดิ้นของเจ้าตัวน้อยในครรภ์มาฝากกันค่ะ ทารกดิ้นอย่างไร ? เมื่อทารกในครรภ์ดิ้น คุณแม่จะรู้สึกเหมือนโดนปลาตอด หรือรู้สึกกระตุกเบา ๆ ที่ท้อง เมื่อมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นการดิ้นของลูกก็จะแรงมากขึ้นตามไปด้วย จนบางครั้งคุณแม่อาจเห็นได้ว่ามีอวัยวะบางส่วนของทารก เช่น…

การเปลี่ยนแปลงของเต้านม

เต้านม กับการเปลี่ยนแปลงช่วงก่อนคลอดและหลังคลอด

by

เต้านม กับการเปลี่ยนแปลงช่วงก่อนคลอดและหลังคลอด ตั้งแต่ที่เริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายของผู้หญิงก็จะเตรียมพร้อมเพื่อการให้นมบุตรทันที ผู้หญิงหลายคนสังเกตพบการเปลี่ยนแปลงของ “เต้านม” ก่อนที่ประจำเดือนของพวกเธอจะขาดเสียอีก นั่นเป็นเพราะปริมาณของเนื้อเยื่อ ไขมัน และการไหลเวียนของเลือดไปยังเต้านมมีเพิ่มขึ้นหลังการปฏิสนธิ ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อช่วยให้ท่อน้ำนมและต่อมน้ำนมเจริญเติบโต หน้าอกของคุณจะพัฒนาต่อไปตลอดการตั้งครรภ์และหลังจากที่ทารกเกิด เรามาดูกันต่อค่ะว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไปมีอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมในไตรมาสแรก หน้าอกของคุณจะเกิดความวุ่นวายมากที่สุดในช่วงไตรมาสแรก ในช่วงหลายสัปดาห์นี้ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะทำให้ต่อมน้ำนมเติบโตขึ้น และฮอร์โมนเอสโตรเจนจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของท่อน้ำนม โดยทั่วไปหน้าอกจะขยายขนาดขึ้นประมาณหนึ่งหรือสองคัพเสื้อชั้นใน และเส้นเลือดจะเข้มขึ้น ผลที่เห็นได้ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ หัวนมของคุณอาจยื่นออกมามากขึ้น ลานนมจะเริ่มมีขนาดใหญ่และมีสีเข้มขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามันเตรียมพร้อมเพื่อทำหน้าที่นำทางทารกไปยังเต้านม…

9 วิธีแก้ปัญหาคนท้องปวดหลัง

9 วิธี พิชิตปัญหา “คนท้องปวดหลัง”

by

9 วิธี พิชิตปัญหา “คนท้องปวดหลัง” หากคุณไปพบนักกายภาพบำบัดหรือไปที่ร้านนวด คุณจะพบกับบรรดาแม่ ๆ ที่ประสบปัญหา “คนท้องปวดหลัง” อยู่ไม่น้อย นั่นเป็นเพราะฮอร์โมนทำให้เส้นเอ็นหย่อนตัว น้ำหนักเพิ่มขึ้น และศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไป ซึ่งอาการเหล่านี้ได้ทำให้หญิงตั้งครรภ์กว่า 2 ล้านคนในแต่ละปีต้องโอดโอยกับอาการปวดหลังที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่ 5 และ 7 ของการตั้งครรภ์ และหากคุณเป็นหนึ่งในจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่กำลังทรมานกับอาการปวดหัลง ลองใช้หนึ่งในวิธีเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการปวดของคุณสิคะ เมื่อมดลูกของคุณ…

รักษาสิวขึ้นตอนท้อง

7 วิธีกำราบปัญหา “สิวขึ้นตอนท้อง”

by

7 วิธีกำราบปัญหา “สิวขึ้นตอนท้อง” ในช่วงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนของคุณจะขึ้นลงยิ่งกว่ารถไฟเหาะตีลังกา ซึ่งผิวของคุณไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากจะยอมขึ้นขี่ไปกับมัน อาการ “สิวขึ้นตอนท้อง” เลยมีให้เห็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนี่คือวิธีการรักษาสิวที่มาพร้อมกับการตั้งครรภ์ด้วยยาและยุทธวิธีที่ปลอดภัย สำหรับผู้หญิงบางคนนั้นก็โชคดีไป เพราะการตั้งครรภ์กลับให้ความงามกับผิวซึ่งถือเป็นสิ่งที่หาซื้อได้ยากยิ่ง แต่ผู้หญิงอีกหลายคนกลับไม่มีช่วงเวลาของการ “เปล่งประกาย” พวกเธอกลับต้องสู้กับปัญหาสิวที่มาในช่วงนี้แทน ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับสิวตอนตั้งครรภ์และวิธีการรักษามัน สาเหตุของสิวตอนตั้งครรภ์คืออะไร ? เหตุผลทางวิทยาศาสตร์อย่างคร่าว ๆ บอกเราถึงสาเหตุของการเกิดสิวว่า ต่อมน้ำมันในผิวหนังของเราหลั่งซีบัม (Sebum) เข้าสู่รูขุมขน…

12 วิธีแก้อาการแพ้ท้อง

12 วิธีแก้อาการแพ้ท้อง ที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้

by

12 วิธีแก้อาการแพ้ท้อง ที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับการแพ้ท้องหรือยังคะคุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย มาติดตาม “วิธีแก้อาการแพ้ท้อง” จากผู้เชี่ยวชาญและบรรดาคุณแม่ผู้มากด้วยประสบการณ์กันดีกว่าค่ะ การเริ่มต้นบทบาทคุณแม่ของคุณจะได้ง่ายขึ้นไปอีกนิดนึง ตามที่ดร.มาจอรี กรีนฟิลด์ แพทย์สูตินรีเวชวิทยาได้บอกเอาไว้ว่า ประมาณร้อยละ 70 ของผู้หญิงมีอาการคลื่นไส้ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ และประมาณร้อยละ 50 พบอาการอาเจียน มันเป็นเรื่องที่ธรรมดามาก แต่อาการของมันก็มีความแตกต่างหลากหลาย ผู้หญิงจำนวนมากมีอาการแพ้ท้องตลอดวัน บางคนมีอาการเป็นส่วนใหญ่ในตอนเย็น และผู้หญิงคนอื่น ๆ จะมีอาการถ้าพวกเขาไม่ได้นอนหลับอย่างเพียงพอ…

ภาวะท้องนอกมดลูก

ท้องนอกมดลูก มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้ไหม

by

ท้องนอกมดลูก มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้ไหม มีปัญหาและภาวะหลายอย่างที่สามารถทำให้คุณแม่ท้องเกิดความกังวล “ท้องนอกมดลูก” ก็เป็นอีกปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่คุณแม่ท้องและคุณแม่มือใหม่หลายคนไม่อยากเผชิญกับมัน แต่เราจะมีวิธีป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร มาเรียนรู้สาเหตุและวิธีหลีกเลี่ยงต้นตอของปัญหากันค่ะ ตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) เป็นภาวะที่ไข่ได้รับการผสมกับสเปิร์มแล้วกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก มักเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่หรือปีกมดลูก ทำให้ตัวอ่อนที่ฝั่งบริเวณนั้นไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดเนื้อเยื่อเจริญเติบโตจนสร้างความเสียหายแก่ท่อนำไข่ และมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สัญญาณสำคัญของการท้องนอกมดลูก เพื่อไปพบแพทย์ให้ทันเวลา เช่น มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อย รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดไหล่…

โรคริดสีดวงตอนท้อง

ริดสีดวงตอนท้อง มีที่มาที่ไปอย่างไรแน่

by

ริดสีดวงตอนท้อง มีที่มาที่ไปอย่างไรแน่ ผู้หญิงหลายคนประสบปัญหา “ริดสีดวงตอนท้อง” เป็นครั้งแรกในชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ ริดสีดวงทวารจะทำให้คุณคันและเกิดเส้นเลือดขอดที่เจ็บปวดอยู่ในทวารหนัก ซึ่งเป็นอาการที่พบได้มากในระหว่างตั้งครรภ์ ถึงแม้จะไม่ได้มีอันตรายมาก แต่มันก็ไม่ใช่ภาวะที่น่าพิศมัยเอาเสียเลย นี่คือทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรคริดสีดวงทวารที่เกิดขึ้นกับคุณในขณะตั้งครรภ์ คุณเป็นโรคริดสีดวงทวารในระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างไร ? โรคริดสีดวงทวารระหว่างการการตั้งครรภ์เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดรอบลำไส้ใหญ่ของคุณยืดและบวม พวกมันอาจเกิดจากความดันที่เพิ่มขึ้นที่กระทำต่อหลอดเลือดของคุณโดยน้ำหนักของมดลูกที่ขยายตัวขึ้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และอาการท้องผูก ก็เป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุน คุณยังสามารถเป็นริดสีดวงทวารหนักจากแรงเบ่งที่คุณทำเมื่อคลอดลูกได้เช่นกัน ริดสีดวงทวารมีลักษณะอย่างไร ? มีริดสีดวงทวาร 2…

ภาวะน้ำดีคั่งในตับ

น้ำดีคั่งในตับ สัญญาณอันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

by

น้ำดีคั่งในตับ สัญญาณอันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง การเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์นั้นเป็นสิ่งที่แม่ท้องทุกคนต้องระวัง อย่างอาการ “น้ำดีคั่งในตับ” ก็เป็นอีกภาวะอันตรายที่ผู้หญิงท้องทุกคนต้องระวังให้มาก วันนี้ Motherhood จะพาคุณแม่มารู้จักกับอาการนี้และวิธีป้องกันค่ะ น้ำดีคั่งในตับคืออะไร ? อาการน้ำดีคั่งภายในตับช่วงตั้งครรภ์ (Cholestasis of pregnancy, Obstetric cholestasis หรือ Intrahepatic cholestasis of pregnancy) คำว่า Cholestasis…

น้ำหนักขึ้นตอนท้องแค่ไหนดี

น้ำหนักขึ้นตอนท้อง ขึ้นมากน้อยแค่ไหนถึงพอดี

by

น้ำหนักขึ้นตอนท้อง ขึ้นมากน้อยแค่ไหนถึงพอดี สิ่งหนึ่งที่แม่ท้องต้องคอยระวังให้ดีก็คือเรื่อง “น้ำหนักขึ้นตอนท้อง” คุณต้องรู้ว่าอะไรที่ควรกิน รู้ว่าออกกำลังกายแค่ไหนที่คุณทำได้ รวมถึงเคล็ดลับในการวางแผนเมนูอาหารที่จะช่วยควบคุมแคลอรี่ หากแพทย์ติงว่าคุณใกล้จะถึงลิมิตของน้ำหนักตัวที่เกินพอดีในช่วงตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์คงเป็นเหตุการณ์เพียงอย่างเดียวในชีวิตที่ผู้หญิงจะยอมปล่อยให้ตัวเองน้ำหนักขึ้น แต่ถ้าคุณกำลังย่ามใจว่านี่คือช่วงเวลาที่คุณจะกินอะไรแบบตามใจปากได้ เราขอให้คุณคิดอีกครั้ง ถึงแม้ว่าการกินอาหารขยะเป็นครั้งคราวจะไม่อันตรายอะไรมาก แต่การกินเพื่อทั้งตัวเองและลูกในท้องก็ไม่ได้หมายความว่าคุณควรกินอะไรเป็นสองเท่า ความจริงก็คือการกินอาหารสุขภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมากในช่วงนี้ ผู้หญิงที่น้ำหนักตัวมากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการคลอด และมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัญหาในการลดน้ำหนักหลังคลอดอีกด้วย การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ทำได้ง่ายเพียงแค่หลีกเลี่ยงการเพิ่มน้ำหนักส่วนเกิน หากคุณเลือกกินอาหารที่มีความสมดุลอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ คุณก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องปรับเปลี่ยนมัน แต่การเปลี่ยนแปลงที่คุณควรทำจะช่วยมอบสารอาหารทั้งหมดที่ลูกของคุณต้องการสำหรับการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี การรับประทานอาหารที่ถูกต้องจะทำให้คุณได้ส่วนประกอบทั้งหมดที่คุณต้องการเพื่อการเพิ่มน้ำหนัก…