คลอดธรรมชาติ

ทำอาการน้ำเดินเองได้ไหม

อาการน้ำเดิน เราทำให้เกิดขึ้นเองได้มั้ย ?

by

อาการน้ำเดิน เราทำให้เกิดขึ้นเองได้มั้ย ? หากวันครบกำหนดคลอดผ่านไป แม่ท้องบางคนอาจจะรู้สึกว่าอยากทำให้มี “อาการน้ำเดิน” เกิดขึ้นด้วยตัวเอง แต่การทำเช่นนี้มันปลอดภัยจริงหรือ วันนี้ Motherhood จะนำคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญมาฝากกันค่ะ 40 สัปดาห์เป็นเวลาที่ยาวนานในการจัดการกับอาการตั้งครรภ์ที่น่ารำคาญ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และอารมณ์แปรปรวนจากฮอร์โมน นั่นเป็นสาเหตุที่ผู้หญิงบางคนรู้สึกเบื่อหน่ายหากวันที่ครบกำหนดคลอดผ่านเลยไปโดยที่ยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ พวกเธออาจจะอยากเร่งการคลอดโดยการทำให้น้ำเดินด้วยตัวเอง แต่สิ่งนี้จะใช่วิธีที่ปลอดภัยและทำเองได้หรือเปล่า นี่คือสิ่งที่ว่าที่คุณแม่ควรทราบไว้ อาการน้ำเดินระหว่างตั้งครรภ์: เกิดอะไรขึ้น ? ลูกน้อยของคุณลอยตัวอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่อยู่ภายในมดลูกของคุณอีกที ของเหลวนี้จะช่วยพยุงทารกน้อย…

Bradley method คืออะไร

Bradley method คืออะไร ? ควรลองมั้ย ?

by

Bradley method คืออะไร ? ควรลองมั้ย ? “Bradley method” เป็นเทคนิคการคลอดที่ส่งเสริมให้แม่ได้คลอดบุตรแบบไม่ต้องใช้ยาและยาสลบ ก่อตั้งโดย Robert Bradley สูติแพทย์ชาวอเมริกันในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 โดยขั้นตอนต่าง ๆ จะถูกปรับให้เข้ากับร่างกายตลอดการตั้งครรภ์ การเจ็บครรภ์ และการคลอด Motherhood อยากให้คุณเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคนี้ เพื่อที่คุณจะได้ติดสินใจว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะเข้าร่วมคลาสเรียนที่มีระยะเวลา 12 สัปดาห์…

แผลฝีเย็บตอนคลอด

4 ระดับของ “แผลฝีเย็บ”

by

4 ระดับของ “แผลฝีเย็บ” สิ่งหนึ่งที่แม่คลอดธรรมชาติทุกคนต้องเผชิญก็คือช่องคลอดฉีกขาดนะคะ ซึ่งการฉีกขาดนี้จะนำไปสู่ “แผลฝีเย็บ” 4 ระดับที่แตกต่างกัน เรามาดูกันว่าจะมีวิธีการอะไรที่สามารถเยียวยาแผลฉีดขาดในจุดนี้ได้บ้างค่ะ เนื่องจากศีรษะของลูกน้อยมีขนาดเท่าแคนตาลูปในระหว่างการคลอดบุตร จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้หญิงหลายคนจะประสบปัญหาช่องคลอดฉีกขาด การฉีกขาดเหล่านี้ หรือที่เรียกว่าการฉีกขาดของฝีเย็บ เกิดขึ้นที่ฝีเย็บซึ่งเป็นบริเวณระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก ผู้หญิงที่คลอดบุตรเป็นครั้งแรกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการฉีกขาดของฝีเย็บเนื่องจากเนื้อเยื่อยังไม่ยืดหยุ่นเท่าไรนัก ในความเป็นจริง 95 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่ท้องจะต้องเผชิญกับสิ่งนี้ การฉีกขาดของฝีเย็บมี 4 ระดับ ตั้งแต่แผลฉีกขาดที่เยื่อบุช่องคลอดไปจนถึงบาดแผลลึกที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก โชคดีที่การฉีกขาดที่พบบ่อยไม่ใช่การฉีกขาดที่รุนแรงที่สุด สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับประเภทของการฉีกขาดของฝีเย็บและวิธีการรักษามีดังนี้…

hypnobirthing คืออะไร

Hypnobirthing คลอดลูกแนวใหม่ด้วยการสะกดจิตลดความเจ็บปวด

by

Hypnobirthing คลอดลูกแนวใหม่ด้วยการสะกดจิตลดความเจ็บปวด หลายคนอาจจะเคยได้ยินข่าวคราวมาบ้างแล้วว่าดัชเชสแห่งเคมบริดจ์หรือเจ้าหญิงเคททรงเลือกวิธีการมีพระประสูติกาลแบบ “Hypnobirthing” กับพระประสูติการของทั้งพระโอรสและพระธิดาทั้ง 3 พระองค์ ว่ากันว่านี่คือเคล็ดลับที่ทำให้พระองค์ฟื้นตัวไวมาก วันนี้ Motherhood จึงได้นำเอาเรื่องราวของวิธีการคลอดแบบแปลกใหม่นี้มาฝากกันค่ะ Hypnobirthing คืออะไร ? Hypnobirth หรือการสะกดจิตบำบัดเพื่อลดความเจ็บปวดจากการคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ เป็นการสะกดจิตที่มีจุดประสงค์ในการช่วยเหลือคุณแม่ให้สามารถคลอดลูกเองโดยวิธีธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องเผชิญกับความเจ็บปวดแต่อย่างใด มีหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับแนวคิดของการสะกดจิตนี้มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1989 ในหนังสือที่เขียนโดยนักสะกดจิต มารี มองแกน โปรแกรมสะกดจิตประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อมอบคำแนะนำให้กับจิตใต้สำนึกของคุณแม่ให้เชื่อมั่นในวิถีของธรรมชาติ…

การบล็อคหลังตอนคลอด

บล็อคหลัง มีแบบไหนบ้าง แม่จะผ่าคลอดต้องรู้

by

บล็อคหลัง มีแบบไหนบ้าง แม่จะผ่าคลอดต้องรู้ “บล็อคหลัง” เพื่อผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติ อาจจะทำให้คุณแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์คลอดมาก่อนเกิดความกลัว และกังวลว่าอาจจะส่งผลข้างเคียงได้ ซึ่งการบล็อคหลังก็ยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควรเช่นกัน Motherhood จึงนำเอาข้อมูลมาให้ทราบกันค่ะ ทำไมต้องบล็อคหลัง ? สำหรับคุณแม่ที่เตรียมตัวจะคลอดด้วยการผ่า การบล็อคหลังเพื่อผ่าคลอดนั้นมีความจำเป็น ซึ่งการบล็อกหลัง (Painless labor) นั้นเป็นการฉีดยาชาด้วยเข็มสำหรับบล็อกหลังโดยแทงเข้าไปบริเวณหลังส่วนล่างจนถึงช่องไขสันหลัง ทำให้เกิดการชาบริเวณช่วงล่างของร่างกาย เป็นการช่วยระงับความเจ็บปวดจากการเจ็บท้องคลอด แต่คุณแม่จะยังคงรู้สึกตัวระหว่างคลอดลูก สามารถพูดคุย โต้ตอบได้ และยาชานี้ไม่มีผลต่อลูก…

ภาวะคลอดก่อนกำหนด

Quick Facts: คลอดก่อนกำหนด

by

Quick Facts: คลอดก่อนกำหนด เรียนรู้ปัจจัยเสี่ยง สัญญาณเตือน และวิธีการรักษาภาวะ “คลอดก่อนกำหนด” ข้อเท็จจริงแบบที่สรุปมาให้กระชับและเข้าใจง่ายเหล่านี้ จะช่วยให้ว่าที่คุณแม่เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะคลอดก่อนกำหนดได้ดียิ่งขึ้น คำจำกัดความของการคลอดก่อนกำหนด คือเมื่อทารกเกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนดและภาวะแทรกซ้อนเป็นสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดในการเสียชีวิตของทารก หากคุณเป็นกังวลว่าคุณอาจมีความเสี่ยงสำหรับการคลอดก่อนกำหนด ต้องอ่านบมความนี้ต่อเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง สัญญาณเตือน และสิ่งที่คุณควรทำหากคุณสงสัยว่าคุณกำลังประสบภาวะนี้ สาเหตุการคลอดก่อนกำหนด แม้ว่าคุณจะทำทุกอย่างถูกต้องในระหว่างตั้งครรภ์คุณยังสามารถคลอดก่อนกำหนดได้ ซึ่งสาเหตุของมันก็ยังไม่ได้ชัดเจนเสมอไป เพราะบางครั้งการคลอดก็เริ่มต้นด้วยตัวของมันเองแบบไม่ได้มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า อะไรคือปัจจัยเสี่ยง ?…

ท้องแรกผ่าคลอด ท้องสองคลอดเองได้ไหม

ท้องแรกผ่าคลอด ท้องสองคลอดเองได้ไหม

by

ท้องแรกผ่าคลอด ท้องสองคลอดเองได้ไหม หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยได้รับการผ่าตัดคลอดมาแล้ว และวางแผนไว้ว่าจะยังมีลูกคนต่อไป คุณอาจจะสงสัยว่า “ท้องแรกผ่าคลอด ท้องสองคลอดเองได้ไหม” เพราะคุณแม่หลายคนที่มีประสบการณ์กับการผ่าคลอดมาแล้ว อาจจะมีความหวังว่าในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปก็อยากจะหลีกเลี่ยงการผ่าคลอด ไม่อยากจะต้องผ่านขั้นตอนแบบนั้นซ้ำอีก แต่เนื่องจากความเป็นไปได้ที่เพิ่มขึ้นของการแตกของมดลูก การคลอดธรรมชาติที่มีขึ้นหลังการผ่าตัดคลอด (VBAC) จึงมักถูกแพทย์พิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูง ต่อไปนี่คือสิ่งที่คุณต้องทราบ หากคุณวางแผนว่าจะคลอดเองหลังจากที่เคยผ่าคลอดมาแล้วครั้งหนึ่ง อัตราความสำเร็จของการคลอดธรรมชาติหลังการผ่าคลอด ผู้หญิงหลายคนสามารถคลอดธรรมชาติได้หลังจากที่เคยรับการผ่าตัดคลอดโดยไม่มีปัญหาใด ๆ ความจริงมันเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยมากสำหรับผู้หญิงหลายคนที่เคยมีการผ่าตัดคลอดมาก่อนหน้าและสำหรับผู้หญิงที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งนั่นหมายถึงผู้หญิงส่วนใหญ่ ในความเป็นจริง สำหรับผู้หญิงที่ได้รับการตรวจอย่างเหมาะสมและได้รับการประเมินแล้วว่าสามารถคลอดธรรมชาติได้หลังจากที่เคยผ่าตัดคลอด อัตราความสำเร็จอยู่ระหว่าง…

อาการเจ็บท้องคลอด

ประเภทของการ “เจ็บท้องคลอด” มีกี่แบบ แตกต่างยังไง

by

ประเภทของการ “เจ็บท้องคลอด” มีกี่แบบ แตกต่างยังไง หากคุณกำลังตั้งครรภ์ เราเชื่อว่าคุณคงเคยได้ยินมามากและก็คิดมากเกี่ยวกับการ “เจ็บท้องคลอด” Motherhood เข้าใจถึงความกังวลนี้ดีค่ะ ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย โดยเฉพาะกับว่าที่คุณแม่ที่เพิ่งจะตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก ดังนั้น มาดูกันดีกว่าว่ามันมีกี่แบบและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เนื่องจากการเจ็บท้องคลอดเป็นสัญญาณแรกว่าการคลอดกำลังจะเริ่มต้นขึ้น แต่การที่คุณรู้สึกเจ็บครรภ์ก่อนจะถึงกำหนดคลอดนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าทารกน้อยอยาจะออกมาเซย์ไฮก่อนกำหนดหรอกนะ คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการหดตัวของมดลูก เมื่อไหร่ก็ตามที่มันเกิดขึ้น การเจ็บท้องคลอดคืออะไร ? คุณอาจเริ่มรู้สึกตึงตัวและปวดท้องตลอดการตั้งครรภ์เนื่องจากร่างกายของคุณเริ่มเตรียมการสำหรับการคลอดที่จะมาถึง เรียกว่ามดลูกของคุณกำลังออกกำลังกายเพื่อเตรียมรับมือกับการแข่งครั้งใหญ่ก็คงไม่ผิดนัก ซึ่งการที่คุณรู้จักพินิจพิจารณาการเจ็บท้องของคุณจะมีส่วนช่วยในการคลอดอย่างมาก เพราะมดลูกล้อมรอบทารกอยู่ และเมื่อกล้ามเนื้อมดลูกหดตัว…

การคลอดลูกที่บ้าน

คลอดลูกที่บ้าน ในไทยทำได้มั้ย ต้องเตรียมอะไรบ้าง

by

คลอดลูกที่บ้าน ในไทยทำได้มั้ย ต้องเตรียมอะไรบ้าง สมัยก่อนการ “คลอดลูกที่บ้าน” ถือเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไป พอวิทยาการทางการแพทย์เริ่มก้าวหน้าขึ้น ก็ได้เสื่อมความนิยมลงไป แต่ในช่วงหลังมานี้การคลอดเองที่บ้านได้กลับมาสู่ความนิยมอีกครั้ง คุณแม่หลายคนอาจจะกำลังชั่งใจถึงข้อดีและข้อเสียของมันอยู่ วันนี้ Motherhood จึงจะนำเอาข้อมูลของการคลอดเองที่บ้านมาฝากกันค่ะ การคลอดลูกที่บ้านในไทย ในช่วงก่อนนี้ การคลอดที่บ้านถือเป็นที่พบเห็นได้ยากในไทย ใคร ๆ ก็นิยมไปคลอดที่โรงพยาบาลกันมากกว่า จะมีบ้างก็เป็นการคลอดจากเหตุฉุกเฉินมากกว่าการจงใจจะคลอดเองที่บ้านแต่แรก แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะทางยุโรป การคลอดลูกเองที่บ้านและการคลอดในน้ำเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก มีการศึกษาวิจัยจากเนเธอร์แลนด์พบว่า สำหรับสตรีมีครรภ์ที่แข็งแรงดี…

อาการเจ็บท้องคลอดมีอะไรบ้าง

อาการเจ็บท้องคลอด: มีกี่ขั้น อาการเป็นอย่างไร บรรเทาอย่างไร

by

อาการเจ็บท้องคลอด: มีกี่ขั้น อาการเป็นอย่างไร บรรเทาอย่างไร ผู้หญิงหลายคนที่เคยผ่านการคลอดลูกมาแล้วพบว่า “อาการเจ็บท้องคลอด” นั้นมีมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ แล้วอะไรคือสิ่งที่บรรดาว่าที่คุณแม่จะคาดหวังจากการคลอดได้บ้างละ มาติดตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในบทความนี้กันเลยค่ะ มดลูกเป็นอวัยวะที่กล้ามเนื้อจะเกิดการหดเกร็งอย่างแรงเพื่อบีบเอาตัวเด็กน้อยออกมา และการหดเกร็งตัวเหล่านี้เองเป็นสาเหตุหลักของความเจ็บปวดที่ได้รับจากการคลอด ความเจ็บปวดระหว่างการคลอดที่คุณจะได้พบนั้นยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมไปถึงความแข็งแรงของการบีบตัว (ซึ่งจะเพิ่มขึ้นระหว่างการคลอด) การได้รับยาเร่งคลอดที่จะยิ่งทำให้เกิดการหดเกร็งตัวที่แรงขึ้น ขนาดและตำแหน่งของทารกในอุ้งเชิงกราน ไม่ว่าตัวเด็กจะเอาหน้าขึ้นหรือเอาหน้าลม (ตำแหน่งการคลอดในอุดมคติ) และความเร็วในการคลอดของแม่ นอกเหนือไปจากการรัดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องแล้ว บางครั้งก็จะเกิดในบริเวณลำตัวและอุ้งเชิงกรานของคุณด้วย คุณจะรู้สึกถึงแรงกดที่หลัง ฝีเย็บ กระเพาะปัสสาวะ…