ทารกในครรภ์

ทารกรับรสได้ไหม

“ทารกรับรสได้” ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเปล่า ?

by

“ทารกรับรสได้” ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเปล่า ? เราอาจสงสัยว่า “ทารกรับรสได้” ตั้งแต่เขายังอยู่ในครรภ์หรือไม่ แล้วอาหารและรสชาติแบบใดที่ลูกน้อยของคุณจะชอบและไม่ชอบ ? พันธุกรรมเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งอื่น ๆ ก็มีบทบาทเช่นกัน ทารกเริ่มมีต่อมรับรสในช่วงไตรมาสแรก และในทางใดทางหนึ่ง เขาก็สามารถลิ้มรสในครรภ์ได้ เนื่องจากโมเลกุลของอาหารที่คุณกินเข้าไปจะผ่านกระแสเลือดและเข้าไปในน้ำคร่ำ อาหารที่คุณกินขณะตั้งครรภ์สามารถมีอิทธิพลต่อประสาทสัมผัสของลูกคุณและความชอบด้านอาหารของลูกเมื่ออายุมากขึ้น ต่อมรับรสของลูกน้อย ลิ้นของทารกเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเมื่อคุณตั้งครรภ์ได้เพียง 4-5 สัปดาห์ เมื่อคุณตั้งครรภ์ได้ 8 สัปดาห์…

อวัยวะเพศของตัวอ่อนในครรภ์

“อวัยวะเพศของตัวอ่อน” พัฒนาตอนไหนในครรภ์ ?

by

“อวัยวะเพศของตัวอ่อน” พัฒนาตอนไหนในครรภ์ ? อวัยวะเพศและระบบทางเดินปัสสาวะของทารกเริ่มก่อตัวตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ เพศของทารกถูกกำหนดโดยโครโมโซมจากทั้งพ่อและแม่ แต่อวัยวะเพศชายและหญิงจะมีลักษณะเหมือนกันจนถึงประมาณ 11 สัปดาห์ ระบบทางเดินปัสสาวะของทารกกำลังพัฒนาในเวลาเดียวกันในบริเวณใกล้เคียง และคุณสามารถมองเห็นไต กระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะเพศของทารกระหว่างการสแกนด้วยอัลตราซาวนด์ได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 20 โดยประมาณ พัฒนาการทางเพศของลูกน้อย เพศของทารกถูกกำหนดโดยโครโมโซมเพศที่ได้รับจากสเปิร์ม (X สำหรับเด็กผู้หญิงหรือ Y สำหรับเด็กผู้ชาย) แต่ต้องใช้เวลาสักพักกว่าที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่แท้จริงจะพัฒนา อวัยวะเพศภายใน…

ทารกรู้สึกเจ็บปวดระหว่างคลอดมั้ย

ทารกรู้สึกเจ็บปวดระหว่างคลอด จริงหรือไม่ ?

by

ทารกรู้สึกเจ็บปวดระหว่างคลอด จริงหรือไม่ ? วินาทีแรกที่คุณเห็นใบหน้าของทารกนั้นเป็นโมเมนท์ที่น่าอัศจรรย์ เขาช่างน่ารักและนุ่มนิ่มและมีรูปร่างแปลก ๆ และเต็มไปด้วยไขหนาสีขาว แน่นอนว่าใบหน้านั้นสวยงามสำหรับคุณ แต่มันอาจแสดงหลักฐานที่น่าตกใจบางอย่างเกี่ยวกับการเดินทางที่ยากลำบากจากภายในสู่ภายนอก การคลอดจากมุมของของทารกเป็นอย่างไร ? ทารกรู้สึกเจ็บปวดระหว่างคลอดหรือไม่ ? บทความนี้พาคุณไปจะสำรวจว่าทารกต้องผ่านอะไรบ้างจากประสบการณ์การคลอดบุตรและความรู้สึกตั้งแต่ต้นจนจบ ทารกตัดสินใจหรือเปล่าว่าจะเกิดเมื่อไหร่ ? มดลูกถูกออกแบบมาให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายสำหรับลูกน้อย น้ำคร่ำช่วยปกป้องจากโลกภายนอก และรกก็ให้สารอาหารตลอดเวลา ถ้าอย่างนั้นอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้ทารกออกมากันละ ? ยังมีความลึกลับอยู่มากมายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้การคลอดเริ่มขึ้น แต่นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการนี้เริ่มต้นโดยทารกเอง เมื่อปอดของพวกเขามีความพร้อม…

ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบตอนคลอด

ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ | สิ่งที่คุณต้องการรู้และจัดการ

by

ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ | สิ่งที่คุณต้องการรู้และจัดการ “ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ” ภาวะที่มีชื่อยาว ๆ นี้คือการติดเชื้อในเยื่อหุ้มและของเหลวรอบ ๆ ทารก ฟังดูน่ากลัวเล็กน้อยและอันที่จริงมันอาจทำให้คุณและลูกน้อยไม่สบายได้ เช่นเดียวกับทุกอย่างเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร คุณควรอ่านหนังสือหาความรู้ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ของการตั้งครรภ์ แม้ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่คุณจะประสบกับโรคนี้ แต่เราแนะนำให้คุณอ่านข้อมูลเอาไว้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับความรู้เกี่ยวกับมัน โรคถุงน้ำคร่ำอักเสบคืออะไร ? โรคถุงน้ำคร่ำอักเสบเป็นภาวะที่อาจส่งผลต่อผู้มีครรภ์และทารก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการแตกของเยื่อหุ้มเซลล์ก่อนเวลาอันควร โรคถุงน้ำคร่ำอักเสบคือการติดเชื้อแบคทีเรียในเยื่อหุ้มทารกและถุงน้ำคร่ำ รวมถึงน้ำคร่ำที่อยู่รอบ ๆ ตัวทารก…

รู้จักการคลอดที่หยุดชะงัก

การคลอดที่หยุดชะงัก: สาเหตุที่พบและสิ่งที่คุณทำได้

by

การคลอดที่หยุดชะงัก: สาเหตุที่พบและสิ่งที่คุณทำได้ “การคลอดที่หยุดชะงัก” อาจนำไปสู่การผ่าคลอดได้ แม้ว่าจะมีเครื่องหมายที่เป็นสากลบางประการสำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ของการคลอด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับการคลอดในลักษณะเดียวกันหรือในอัตราที่เท่ากัน เมื่อบุคคลอยู่ในระหว่างการคลอดที่กำลังดำเนินอยู่และกระบวนการนี้ช้าลงหรือหยุดลง เรียกว่า ‘การคลอดที่หยุดชะงัก’ สาเหตุของมันอาจรวมถึงการหดตัวช้าลง การหดตัวโดยไม่มีการขยาย หรือทารกไม่ไหลตัวลง แม้ว่าการหดตัวยังคงเกิดขึ้นก็ตาม ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้การคลอดหยุดดำเนินไป รวมทั้งสิ่งที่คุณสามารถทำได้หลังจากจุดนั้น การคลอดที่ติดขัดหรือหยุดชะงักอาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจและท้อแท้ แต่ข่าวดีก็คือ โดยปกติแล้วจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ และมักจะแก้ไขได้ นี่คือทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับมัน การคลอดที่หยุดชะงักคืออะไร…

แฝดในท้องหายไปไหน

Vanishing twin syndrome: เมื่ออยู่ ๆ “แฝดในท้องหายไป”

by

Vanishing twin syndrome: เมื่ออยู่ ๆ “แฝดในท้องหายไป” หลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินจากข่าวหรือจากที่คนพูดกันรอบตัวใช่ไหมคะ ว่าตอนแรกตรวจพบเป็นครรภ์แฝด แต่แล้วจู่ ๆ “แฝดในท้องหายไป” จากที่คาดหวังไว้ว่าจะมีลูกน้อยหน้าตาเหมือนกันถึงสองคน กลับเหลือแค่คนเดียวซะอย่างนั้น บางครั้งมารู้เอาอีกทีตอนคลอดแล้วก็มี ที่ผ่านมาเข้าใจว่าจะได้ลูกแฝดมาตลอด พอคลอดออกมา ทำไมกลับคลอดมาแค่คนเดียวได้ ปรากฏการณ์นี้เริ่มเป็นที่รู้จักในปี พ.ศ. 2488 เกิดขึ้นเมื่อฝาแฝดหายไปจากในครรภ์ วันนี้…

ตีท้องตอนท้องอันตรายไหม

การ “ตีท้องตอนท้อง” ทำให้ทารกในท้องเจ็บหรือเปล่า ?

by

การ “ตีท้องตอนท้อง” ทำให้ทารกในท้องเจ็บหรือเปล่า ? ท้องของแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะรับแรงกดดันได้มากขนาดไหน ? ไม่ว่าจะเป็นการถูก “ตีท้องตอนท้อง” การกระทบกระแทกชนิดเบาหรือรุนแรงจากอุบัติเหตุต่าง ๆ หรือแม้แต่การหกล้ม นี่คือสิ่งที่คุณควรรู้ไว้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรต้องเป็นกังวลหากท้องของคุณได้รับการกระทบทั่ง ข้อศอกของใครก็ไม่รู้ในเวลาที่คุณออกไปนอกบ้าน หรือเป็นมุมของเคาน์เตอร์ในครัว ขณะที่การตั้งครรภ์ของคุณดำเนินไป คุณอาจรู้สึกเหมือนว่าท้องของคุณกำลังปะทะกับโลก คุณกำลังสงสัยว่าท้องที่ตั้งครรภ์ของคุณจะสามารถรับแรงกดดันได้มากแค่ไหนกันนะ บอกเลยว่าไม่ใช่แค่สิ่งที่คุณอาจจะจินตนาการไปเอง ปัจจัยหลายอย่างในระหว่างตั้งครรภ์ทำให้ท้องของคุณมีแนวโน้มที่จะถูกกระทบกระแทก เช่น เอ็นและข้อต่อที่หลวมกว่าปกติ เส้นรอบวงที่โตขึ้น และความรู้สึกไม่อยู่กับเนื้อกับตัวในบางครั้ง โชคดีที่คุณไม่ต้องกังวลไปเสียทุกครั้งที่เกิดการกระทบกระแทกที่ท้อง…

พบไมโครพลาสติกในรก

พบ “ไมโครพลาสติก” ในรกเด็ก ส่งต่อได้จากแม่สู่ลูก

by

พบ “ไมโครพลาสติก” ในรกเด็ก ส่งต่อได้จากแม่สู่ลูก ล่าสุดมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่ามี “ไมโครพลาสติก” อยู่ในรกเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยพลาสติกดังกล่าวเป็นชนิด Polypropylene และเม็ดสีต่าง ๆ ที่เราสามารถพบได้ในบรรจุภัณฑ์ทั่วไป ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่และครอบครัวที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ต่างพากันกังวลถึงสุขภาพของทารกน้อยและคุณแม่กันยกใหญ่ เรามาติดตามความคืบหน้าของงานวิจัยตัวนี้กันค่ะ ว่าไมโครพลาสติกที่พบนั้นส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ในรูปแบบใดบ้าง งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environment International ศึกษาโดย Antonio Ragusa สูตินรีเวชของโรงพยาบาลในกรุงโรม รายงานว่าได้พบไมโครพลาสติกในรกเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยพลาสติกดังกล่าวเป็นพลาสติกชนิด…

ภาวะท้องนอกมดลูก

ท้องนอกมดลูก มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้ไหม

by

ท้องนอกมดลูก มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้ไหม มีปัญหาและภาวะหลายอย่างที่สามารถทำให้คุณแม่ท้องเกิดความกังวล “ท้องนอกมดลูก” ก็เป็นอีกปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่คุณแม่ท้องและคุณแม่มือใหม่หลายคนไม่อยากเผชิญกับมัน แต่เราจะมีวิธีป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร มาเรียนรู้สาเหตุและวิธีหลีกเลี่ยงต้นตอของปัญหากันค่ะ ตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) เป็นภาวะที่ไข่ได้รับการผสมกับสเปิร์มแล้วกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก มักเกิดขึ้นบริเวณท่อนำไข่หรือปีกมดลูก ทำให้ตัวอ่อนที่ฝั่งบริเวณนั้นไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดเนื้อเยื่อเจริญเติบโตจนสร้างความเสียหายแก่ท่อนำไข่ และมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สัญญาณสำคัญของการท้องนอกมดลูก เพื่อไปพบแพทย์ให้ทันเวลา เช่น มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อย รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดไหล่…

ทารกในครรภ์มีกล้ามเนื้อประหลาด

“ทารกในครรภ์” กับพัฒนาการแสนประหลาดที่เพิ่งค้นพบ

by

“ทารกในครรภ์” กับพัฒนาการแสนประหลาดที่เพิ่งค้นพบ การวิจัยใหม่ตัวหนึ่งที่เพิ่งถูกเปิดเผยในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นว่า ตัวอ่อน “ทารกในครรภ์” ของมนุษย์มีการพัฒนาของกล้ามเนื้อชุดพิเศษหลายส่วนตามแขนและขา ซึ่งจะหายไปตามเวลาที่พวกเขาเกิด และกล้ามเนื้อเหล่านี้บางส่วนถูกพบเห็นได้ครั้งสุดท้ายในบรรพบุรุษผู้ใหญ่ของพวกเราเมื่อ 250 ล้านปีก่อน อ้างอิงจากผู้เขียนงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Development โดยทีมนักชีววิทยาประจำมหาวิทยาลัยฮาวเวิร์ด (Howard University) ของสหรัฐฯ จะเห็นได้ว่าเราไม่สามารถติดตามการก่อตัวของชิ้นส่วนร่างกายชั่วคราวเหล่านี้ในมนุษย์ด้วยรายละเอียดที่ดีสักเท่าไรนัก แต่ด้วยการใช้เทคนิคการถ่ายภาพสามมิติขั้นสูง ผู้เขียนกล่าวว่าพวกมันสามารถให้ภาพที่ชัดเจนที่สุดของการเติบโตของแขนขาของเราในช่วงต้น และยังพออีกว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างแปลก ยกตัวอย่างเช่น ในมือและเท้าของตัวอ่อนในครรภ์ที่มีอายุเจ็ดสัปดาห์ พวกเขาสามารถมองหากล้ามเนื้อได้…