ผดุงครรภ์

การผดุงครรภ์

มาทำความรู้จัก “ผดุงครรภ์” ให้มากขึ้นเนื่องในวันผดุงครรภ์สากล

by

มาทำความรู้จัก “ผดุงครรภ์” ให้มากขึ้นเนื่องในวันผดุงครรภ์สากล วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวัน “ผดุงครรภ์” สากลค่ะ ในวันนี้ Motherhood ก็จะพาคุณ ๆ ไปทำความรู้จักกับหน้าที่นี้ให้มากขึ้น เพราะพวกเขาเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้ตั้งครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด รวมทั้งดูแลลูกน้อยของคุณในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังคลอดอีกด้วย มาทำความรู้จักพวกเขาให้ดียิ่งขึ้นกันเถอะค่ะ ผดุงครรภ์คืออะไร ? แต่ดั้งเดิมแล้ว พยาบาลผดุงครรภ์เป็นพยาบาลที่ได้รับการศึกษาพิเศษในหลักสูตรการผดุงครรภ์จากสถานศึกษาที่เป็นที่ยอมรับในประเทศนั้น ๆ และเป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพผดุงครรภ์ให้สามารถทำการผดุงครรภ์ได้…

ทำความรู้จักกับ doula

Doula ผู้ช่วยทำคลอด อีกอาชีพที่กำลังได้รับความนิยม

by

Doula ผู้ช่วยทำคลอด อีกอาชีพที่กำลังได้รับความนิยม เมื่ออาทิตย์ก่อน ผู้เขียนได้ทราบว่านักร้องผิวดำคนโปรดสมัยที่ผู้เขียนยังเป็นวัยรุ่น ได้ผันตัวเองไปเป็น “Doula” หลังจากที่เธอตัดสินใจพักไมค์จากวงการเพลง ด้วยความไม่คุ้นว่าชื่ออาชีพนี้คืออะไร เป็นงานในสาขาวิชาชีพไหน ผู้เขียนจึงได้เสาะหาข้อมูลเพิ่มเติม และพบว่า Doula คืออาชีพที่เกี่ยวกับวงการแม่และเด็กนี่เอง และกำลังเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศมากขึ้นด้วย หากคุณพ่อคุณแม่อยากทราบว่าอาชีพนี้มีรายละเอียดอย่างไร ต้องติดตามบทความตอนนี้นะคะ ดูลา คือใคร? ดูลา เป็นเหมือนผู้ช่วยคุณแม่ ที่จะมาช่วยเหลือคุณแม่ผ่านการคลอดลูกในครั้งแรก หรือครั้งไหนก็ได้ตามที่คุณแม่ต้องการ รวมทั้งคอยให้ความรู้เรื่องสุขภาพร่างกายและจิตใจตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด…

หมอตำแยโบราณ

หมอตำแย กับการคลอดแบบโบราณที่คนรุ่นใหม่ควรรู้

by

หมอตำแย กับการคลอดแบบโบราณที่คนรุ่นใหม่ควรรู้ หลาย ๆ คนที่เคยดูละครพีเรียดก็อาจจะคุ้นหูกับคำกว่า “หมอตำแย” กันมาบ้าง แต่คนเมืองและคนรุ่นใหม่น้อยคนนักที่จะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าหมอตำแยจริง ๆ แล้วทำหน้าที่อะไรบ้างในการช่วยให้แม่ท้องสมัยโบราณคลอดลูก Motherhood จะพาคุณผู้อ่านไปติดตามเรื่องราวการทำงานของหมอตำแยในสมัยโบราณกันค่ะ หมอตำแยไทยสมัยโบราณ หมอตำแยเป็นหนึ่งในอาชีพโบราณที่สมัยนี้หายากขึ้นทุกขณะ แต่ในสมัยก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ท้องถิ่นที่ความเจริญยังเข้าถึงไม่มากนัก หมอตำแยจึงเป็นที่ยอมรับในสังคมอย่างกว้างขวาง โดยมักจะเดินทางไปให้บริการตามบ้านของผู้ที่จะคลอด จนกระทั่งในยุคที่ประเทศไทยได้มีการเปิดการเรียนการสอนวิชาผดุงครรภ์ตามอย่างฝรั่ง ที่นำตำรับตำรามาจากต่างประเทศ จึงทำให้คนไทยได้เรียนรู้เรื่องการคลอดมากขึ้น แรกเริ่มเดิมทีจะไม่มีหมอตำแยที่เป็นผู้ชายเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานของฝรั่ง ที่เรียกว่า “Midwife”…