โรคและสุขภาพพลานามัย

โรคภัยไข้เจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นกับเจ้าตัวน้อยของคุณมีอยู่มากมาย มาทำความรู้จักได้ใน “โรคและสุขภาพพลานามัย” ที่จะนำเสนอถึงโรคต่างๆ พร้อมทั้งการวินิจฉัยอาการและการรักษาเยียวยา เพราะรู้ก่อน ย่อมป้องกันได้ก่อน

ไคโรแพรคติก

7 สิ่ง เกี่ยวกับ “ไคโรแพรคติก” ที่พ่อแม่ต้องรู้

by

7 สิ่ง เกี่ยวกับ “ไคโรแพรคติก” ที่พ่อแม่ต้องรู้ เราอาจจะเคยเห็นคลิปวิดีโอที่มีแพทย์มากดหรือดึงตัวคนไข้ จากนั้นจะมีเสียงกระดูกสั่นกร๊อบแกร๊บให้เรารู้สึกฟินกัน นั่นแหละคือ “ไคโรแพรคติก” ซึ่งบางครั้งเราก็เห็นว่ามีคนไข้ที่เป็นเด็กเล็กด้วย คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะรู้สึกสนใจ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นอันตรายต่อลูกหรือเปล่า วันนี้ Motherhood นำสาระเกี่ยวกับศาสตร์แพทย์ทางเลือกอย่างไคโรแพรคติกมาฝากกันค่ะ ประวัติของการรักษาแบบไคโรแพรคติก แม้ว่าการจัดกระดูกสันหลังนั้นจะถูกใช้เป็นวิธีการรักษามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ แต่ไคโรแพรคติกเป็นศาสตร์ที่ค่อนข้างใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1895 มันถูกพัฒนามาจากการรักษาแบบพลังเยียวยาที่มีอยู่ในสมัยโบราณ ร่วมกับวิธีทางการแพทย์แบบอเมริกัน และนำมาผสมผสานเข้าด้วยกัน การรักษาชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นในยุคที่ผู้ป่วยต้องการหาทางเลือกในการรักษาที่ปราศจากการใช้ยา ดีดี…

แป้งจอห์นสัน

“แป้งจอห์นสัน” ถูกเรียกคืนกว่า 3 หมื่นกระป๋อง

by

“แป้งจอห์นสัน” ถูกเรียกคืนกว่า 3 หมื่นกระป๋อง วันนี้มีข่าวเกี่ยวกับของใช้เด็กที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้กับลูกเป็นประจำมาฝากกันค่ะ นั่นก็คือแป้งเด็กนั่นเอง ล่าสุดมีข่าวของ “แป้งจอห์นสัน” ที่ถูกทางบริษัทผู้ผลิตเรียกเก็บผลิตภัณฑ์คืนเพราะตรวจพบสิ่งแปลกปลอมในนั้น จะเป็นอะไร และอันตรายมากน้อยแค่ไหน ติดตามอ่านข่าวกันค่ะ สื่อต่างประเทศรายงานว่า กลุ่มบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ของสหรัฐ ‘จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน’ (J&J) เรียกคืนแป้งเด็กในตลาดสหรัฐฯ กว่า 33,000 ขวด หลังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA)…

ระวังการหอมแก้มเด็ก

พ่อแม่ระวัง! อย่าให้ใคร “หอมแก้ม” ลูกพร่ำเพรื่อ

by

พ่อแม่ระวัง! อย่าให้ใคร “หอมแก้ม” ลูกพร่ำเพรื่อ สิ่งหนึ่งที่เป็นความยากลำบากใจของพ่อแม่ และบางทีก็เกิดดราม่าหากพ่อแม่เป็นคนดัง ก็คือเวลามีคนมา “หอมแก้ม” หรือสัมผัสลูกน้อยของเราโดยยังไม่ได้ทำความสะอาดมือเสียก่อน พ่อแม่บางคนที่เฉียบขาดชัดเจนก็จะห้ามเสียงแข็ง แต่ก็ไม่วายโดนคนที่ต้องการสัมผัสลูกดราม่าใส่ ยิ่งเป็นคนดังยิ่งโดนหนัก ถูกหาว่าหยิ่งไปโน่นเลย หลายๆคนไม่ตระหนักค่ะว่าเด็กทารกนั้นบอบบางมาก เพียงการสัมผัสที่ไม่ได้ตั้งใจอาจทำให้เขาติดเชื้อจนป่วยหนักได้ แต่พ่อแม่จะบอกยังไงให้คนอื่นเข้าใจนะ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และผู้อำนวยการวิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทมย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี…

ปัญหาฝุ่น pm 2.5

“ฝุ่น PM 2.5” อันตรายขึ้นทุกวัน จะป้องกันลูกอย่างไร

by

“ฝุ่น PM 2.5” อันตรายขึ้นทุกวัน จะป้องกันลูกอย่างไร หลังจากที่ห่างหายกันไปพักใหญ่ ตอนนี้ “ฝุ่น PM 2.5” ที่เกินค่ามาตรฐานก็ได้กลับมาสร้างความหวาดกลัวให้กับชาวกทม.กันอีกรอบแล้วนะคะ มันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพกับคนทุกเพศทุกวัยที่สูดดมเข้าไป แต่กับเด็กเล็กที่ระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ฝุ่นละออง PM 2.5 จะสามารถทำอันตรายกับสุภาพของเขาได้มากกว่าที่ทำกับผู้ใหญ่เสียอีก แล้วพ่อแม่จะดูแลป้องกันลูกให้ปลอดภัยจากฝุ่นละอองนี้ได้อย่างไร ฝุ่นละออง PM 2.5 คืออะไร? เกิดมาจากไหน? ฝุ่นละออง…

การจัดฟันเด็ก

จัดฟันเด็ก เริ่มได้ตอนลูกกี่ขวบ

by

จัดฟันเด็ก เริ่มได้ตอนลูกกี่ขวบ เรื่องสุขภาพปากและฟันของคนเราเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในสมัยนี้เราจะพบว่ามีเด็กและวัยรุ่นหลายคนที่นิยมจัดฟันจนดูเหมือนทำตามแฟชั่น ทั้งที่จริงแล้วการ “จัดฟันเด็ก” เป็นไปเพื่อแก้ไข้การสบฟันที่ผิดปกติของเด็ก พ่อแม่หลายคนอาจจะยังไม่แน่ใจว่าสภาพฟันแบบไหนที่จะเข้าข่ายมีปัญหา ลูกเราฟันเหยินหรือฟันเกหรือเปล่า สมควรได้รับการจัดฟันหรือไม่ แม้แต่ว่าควรให้ลูกจัดฟันตอนกี่ขวบดี ติดตามบทความของวันนี้เลยค่ะ จะได้ทราบเรื่องราวของการจัดฟันสำหรับเด็กมากขึ้น แบบไหนที่เรียกว่าฟันเหยิน? ฟันเหยิน คือ ภาวะที่ฟันหน้าด้านบนยื่นออกจากปากหรือครอบปิดฟันหน้าด้านล่าง ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากไม่มีอาการมากจนเกินไป โดยอาจเกิดจากพันธุกรรมหรือสาเหตุอื่นๆ เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะหรือฟันผิดปกติ อาการฟันเหยินจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ซึ่งอาจสังเกตได้จากรูปหน้าที่ผิดปกติ เช่น…

โรคผิวเผือก

ผิวเผือก เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรที่ต้องระวังบ้าง

by

ผิวเผือก เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรที่ต้องระวังบ้าง จากที่ Motherhood เคยนำเสนอเรื่องราวของโรคด่างขาวกันไปแล้ว อาจจะทำให้ผู้อ่านบางท่านนึกสงสัยต่อไปว่า แล้วคนที่ขาวมากไปทั้งตัว หรือที่เรียกว่า “ผิวเผือก” มันเกิดขึ้นได้ยังไง มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วจะต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังมากขนาดไหน รวมทั้งว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะอยากรู้ว่าลูกเราจะมีโอกาสเกิดมาเป็นเด็กผิวเผือกหรือไม่ ติดตามได้ในบทความวันนี้เลยค่ะ ผิวเผือกคืออะไร? ผิวเผือก (Albinism) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับกระบวนการผลิตเม็ดสีในร่างกายที่ทำหน้าที่กำหนดสีผิว สีผม และสีม่านตา เมื่อเป็นโรคนี้ ร่างกายของผู้ป่วยอาจไม่ผลิตเม็ดสีออกมาหรือผลิตออกมาน้อยกว่าปกติ ทำให้มีอาการ…

อาการเลือดกำเดาไหล

เมื่อลูก “เลือดกำเดาไหล” พ่อแม่จะช่วยยังไงดีนะ

by

เมื่อลูก “เลือดกำเดาไหล” พ่อแม่จะช่วยยังไงดีนะ เรื่องสุขภาพของลูกเป็นสิ่งที่คนเป็นพ่อแม่สามารถห่วงไปได้ร้อยแปด อาการหนึ่งที่เด็กๆหลายคนอาจจะเคยเป็นก็คือ “เลือดกำเดาไหล” บางทีนั่งเล่นด้วยกันอยู่ดีๆ เลือดก็ไหลหยดแหมะใส่เสื้อซะอย่างนั้น ทำไมเลือดกำเดาถึงไหล แล้วเรามีวิธีหยุดเลือดอย่างไรถึงจะถูกต้อง Motherhood มีเคล็ดลับมาบอกให้คุณพ่อคุณแม่จำเอาวิธีไปใช้กันค่ะ เลือดกำเดา คืออะไร? เลือดกำเดา คือเลือดที่ไหลออกมาจากโพรงจมูก ไม่ว่าจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง เกิดจากเส้นเลือดภายในโพรงจมูกแตก สาเหตุอาจเป็นเพราะเส้นเลือดในโพรงจมูกเปราะบางแตกง่ายด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น อากาศที่เปลี่ยน ร้อนเกินไป หนาวเกินไป หรือแห้งเกินไป…

ไวรัสตับอักเสบในเด็ก

ไวรัสตับอักเสบ อีกโรคติดต่อที่คนมักละเลย

by

ไวรัสตับอักเสบ อีกโรคติดต่อที่คนมักละเลย เรื่องของสุขภาพพลานามัยเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกคนในครอบครัว ไม่จำกัดเฉพาะลูกน้อยเท่านั้น อีกโรคหนึ่งที่คนไทยไม่ค่อยระวังในการติดต่อแพร่เชื้อคือ “ไวรัสตับอักเสบ” มันเป็นโรคที่ติดต่อและแพร่เชื้อกันง่าย ผ่านการใช้ภาชนะหรือแก้วน้ำร่วมกัน หากเชื้อโรคแพร่ไปยังเด็กเล็กก็เป็นความยุ่งยากตามมา ตัวเลข 400 ล้าน คือจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสตับอักเสบทั่วโลก แต่ข่าวดีก็คือโรคตับอักเสบบางรูปแบบสามารถรักษาให้หายขาดได้และส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ วันนี้ Motherhood จะมาบอกคุณเกี่ยวกับสาเหตุและทางเลือกในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบในเด็ก ติดตามกันต่อไปว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้เจ้าตัวเล็กติดเชื้อได้อย่างไร ไวรัสตับอักเสบคืออะไร? ไวรัสตับอักเสบเป็นการอักเสบของเซลล์ตับ มันอาจเริ่มติดเชื้ออย่างรุนแรงในเด็กเล็ก และอีก 90% พบในทารกที่อายุน้อยกว่าหกเดือน…

โรคหอบหืดในเด็ก

โรคหอบหืด เมื่อลูกน้อยทรมานกับอาการหอบ

by

โรคหอบหืด เมื่อลูกน้อยทรมานกับอาการหอบ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วย “โรคหอบหืด” ถึง 150 ล้านคน เสียชีวิตปีละมากกว่า 180,000 คน คงไม่ดีแน่หากลูกรักของเราจะต้องเป็นหนึ่งในนั้น พ่อแม่จะมีวิธีช่วยเหลือลูกได้อย่างไร โรคหอบหืดรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ หรือจะบรรเทาอาการของลูกได้มากน้อยแค่ไหน Motherhood นำความรู้ในเรื่องหอบหืดมาฝากกันแล้วค่ะ ทำความรู้จักกับโรคหอบหืด โรคหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกว่าหอบหืด คือ โรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบแคบของระบบทางเดินหายใจเป็นครั้งคราว…

โรคตาขี้เกียจในเด็ก

โรคตาขี้เกียจ อันตรายกับเด็กกว่าที่เราคิด

by

โรคตาขี้เกียจ อันตรายกับเด็กกว่าที่เราคิด ดวงตาของคนเราถือเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่แล้ว หากลูกมีปัญหาเรื่องดวงตาย่อมเป็นเรื่องใหญ่ “โรคตาขี้เกียจ” ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่คนไทยมักจะมองข้ามไป เพราะมองดูเผินๆจะเหมือนอาการตาเหล่ตาเขทั่วไป ไม่ค่อยมีใครตระหนักถึงผลกระทบที่มีอย่างจริงจัง เต็มที่ก็จะมองว่าทำให้เสียบุคลิก ทั้งที่ความจริงแล้วจำเป็นต้องได้รับการรักษา ไม่เช่นนั้นแล้วปล่อยไว้อาจจะถึงขั้นตาบอดได้ วันนี้ Motherhood จะขอพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความรู้จักกับอาการตาขี้เกียจใจเด็กกันค่ะ โรคตาขี้เกียจ คืออะไร? โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye – Amblyopia) สามารถพบได้ประมาณ 3-5…