เทคนิคเลี้ยงลูก

เมื่อลูกรักเริ่มเติบโต เราจึงต้องมี “เทคนิคเลี้ยงลูก” ให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเขา ตั้งแต่เขายังเป็นทารก จนเริ่มเข้าวัยเตาะแตะ จนไปถึงวัยที่เริ่มเข้าโรงเรียน และก่อนจะย่างเข้าสู่วัยรุ่น

เลิกห่อตัวทารก

ควรเลิก “ห่อตัวทารก” เมื่อไหร่ดี ?

by

ควรเลิก “ห่อตัวทารก” เมื่อไหร่ดี ? การ “ห่อตัวทารก” ช่วยให้ทารกแรกเกิดนอนหลับได้นานขึ้นและลึกขึ้น แต่การห่อตัวอย่างปลอดภัยก็มีจุดสิ้นสุดของมันเช่นกัน และช่วงเวลานั้นก็อาจมาเร็วกว่าที่คุณคิด Motherhood จะพาคุณไปเรียนรู้เรื่องนี้กันค่ะ จากคำแนะนำและเคล็ดลับทั้งหมดที่พ่อแม่มือใหม่ได้รับคำแนะนำมาจากแผนกสูติกรรมหลังจากพวกเขาได้ต้อนรับเจ้าตัวน้อย ก็คือการห่อตัวนั้นมีประโยชน์มาก เทคนิคการห่อตัวทารกแรกเกิดอย่างแนบแน่นในผ้านี้กล่าวกันว่า มันช่วยให้พวกเขานอนหลับได้นานขึ้นและลึกขึ้น นั่นเป็นเพราะมันยับยั้งปฏิกิริยาการสะท้อนกลับ (Startle reflex) ตามธรรมชาติของเด็ก และทำให้พวกเขารู้สึกถึงช่วงเวลาของการอยู่ในครรภ์ แต่มันมีข้อจำกัดหรือเปล่า ว่าคุณควรจะห่อตัวลูกน้อยของคุณไปนานแค่ไหน ? เท่าที่ปรากฏ…

พ่อแม่ห่างลูก

คู่มือพ่อแม่ รับมือกับเด็กเล็กเมื่อคุณต้อง “ห่างลูก”

by

คู่มือพ่อแม่ รับมือกับเด็กเล็กเมื่อคุณต้อง “ห่างลูก” ลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณร้องไห้หรือเกาะติดคุณแจเมื่อคุณกำลังเดินออกจากห้องหรือเปล่า ? ลูกอาจกำลังประสบกับความวิตกกังวลเมื่อคุณต้อง “ห่างลูก” คุณควรเรียนรู้วิธีระบุสัญญาณและช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายใจเมื่อไม่มีคุณ หากการจากลาเต็มไปด้วยเสียงกรีดร้องและน้ำตา ลูกน้อยของคุณอาจมีความวิตกกังวลจากการพลัดพราก ฟราน วัลฟิช นักจิตบำบัด ผู้เขียน The Self-Aware Parent อธิบายว่า “เมื่อเด็กๆ เริ่มเดิน พวกเขายืนยันความเป็นอิสระและย้ายห่างจากพ่อแม่ แต่พวกเขายังไม่พร้อมที่จะแยกจากกันโดยสิ้นเชิง” เมื่อลูกวัยเตาะแตะอยู่ห่างจากคุณ พวกเขาอาจรู้สึกว่าจำเป็นต้องอยู่เคียงข้างคุณอย่างมาก…

รู้จักวันภาษามือโลก

วันภาษามือโลก: พ่อแม่เรียนภาษามือได้ที่ไหน หากลูกมีปัญหาทางการได้ยิน ?

by

วันภาษามือโลก: พ่อแม่เรียนภาษามือได้ที่ไหน หากลูกมีปัญหาทางการได้ยิน ? เนื่องจากเมื่อวาน วันที่ 23 กันยายน เป็น “วันภาษามือโลก” และเมื่อเราย้อนไปในปี ค.ศ. 1951 ก็จะพบว่าเป็นวันก่อตั้งสมาคมคนหูหนวกโลกหรือ WFD ด้วยเช่นกัน และเพราะภาษามือของแต่ละประเทศมีวิวัฒนาการที่เป็นอิสระจากกัน ทำให้พ่อแม่ที่ลูกมีปัญหาทางการได้ยินรู้สึกว่ามีอีกหน้าที่ที่พวกเขาต้องทำเพื่อลูกรัก นั่นก็คือการไปเรียนภาษามือค่ะ ภาษามือสำหรับผู้ปกครอง ข้อมูลจากสมาคมคนหูหนวกโลก (WDF) เผยว่า ปัจจุบันมีผู้พิการทางการได้ยินมากกว่า…

10 กันยาวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก

10 กันยายน “วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก”

by

10 กันยายน “วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก” องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้วันที่ 10 กันยายนของทุก ๆ ปี เป็น “วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก” หรือ ‘World Suicide Prevention Day’ เพื่อให้ทั่วโลกได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันการฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสองในคนอายุ 10-24 ปี เราจะเห็นได้ว่าแม้แต่เด็กและวัยรุ่นเองก็เผชิญกับปัญหานี้ไม่แพ้ผู้ใหญ่ ดังนั้น การที่พ่อแม่รับรู้ถึงสัญญาณเตือนที่ละเอียดอ่อนก็จะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันได้…

Growing pains ในเด็ด

Growing pains แม่จ๋า ขาหนูเจ็บ

by

Growing pains แม่จ๋า ขาหนูเจ็บ หากลูกของคุณที่อยู่ในวัยกำลังยืดตัว คุณอาจจะได้ยินเขาบ่นว่า ‘แม่ หนูปวดขา’ นั่นคืออาการที่เรียกว่า “Growing pains” ที่พบได้ในเด็กช่วงอายุ 3-5 ปี และ 8-12 ปี แม้อาการนี้จะไม่ได้เกิดขึ้นตลอดทั้งวัน แต่ก็คงทำให้คุณกังวลได้ไม่น้อยใช่ไหมคะ ? Growing pains คืออะไร ?…

ลูกเป็นเด็กข้ามเพศ

คู่มือเลี้ยงลูก: ฉบับการดูแล “เด็กข้ามเพศ”

by

คู่มือเลี้ยงลูก: ฉบับการดูแล “เด็กข้ามเพศ” แน่นอนว่าการเลี้ยงลูกที่เป็น “เด็กข้ามเพศ” ไม่ใช่สิ่งที่ใคร ๆ ได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อนล่วงหน้า ในฐานะพ่อแม่ คุณจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับความรักและการยอมรับลูกในสิ่งที่เป็นมากกว่าที่พวกคุณเคยคาดคิด สิ่งสำคัญที่คุณต้องเข้าใจก่อนก็คือ ต้องแยกความแตกต่างระหว่างความคิดที่ว่า ‘เด็กก็เป็นแบบนี้’ และเมื่อพวกเขากำลังยืนยันสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเอง ที่มีความสำคัญต่ออัตลักษณ์และการพัฒนาตัวตนของพวกเขา เช่นเดียวกับกรณีของอัตลักษณ์และการแสดงออกทางเพศ เยาวชนข้ามเพศหรือคนข้ามเพศต้องเผชิญกับความวิตกกังวล ซึมเศร้า และการฆ่าตัวตายในอัตราที่สูง ความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การเลือกปฏิบัติ…

อาการประหลาดของทารก

10 อาการประหลาด ที่อาจพบได้ในทารกแรกเกิด

by

10 อาการประหลาด ที่อาจพบได้ในทารกแรกเกิด พ่อแม่มือใหม่อาจรู้สึกกังวลเมื่อพบว่าทารกแรกเกิดมี “อาการประหลาด” ต่าง ๆ ในบทความนี้ เราจะบอกคุณเกี่ยวกับอาการเหล่านั้น ที่พวกเขาอาจจะไม่เคยบอกให้คุณรู้มาก่อนที่โรงพยาบาล แน่นอนว่าหนังสือและชั้นเรียนที่คุณเคยเข้าได้เตรียมความพร้อมให้คุณไว้สำหรับสิ่งสำคัญ ๆ แล้ว แต่อาการแปลก ๆ บางอย่างที่ทารกน้อยมีก็อาจทำให้คุณตกใจหรือเป็นกังวลได้ ก่อนที่คุณจะวิ่งไปที่โทรศัพท์เพื่อโทรหากุมารแพทย์ เราได้สรุปเกี่ยวกับอาการที่แปลกประหลาด แต่เป็นเรื่องปกติโดยสิ้นเชิงที่คุณจะคพบได้ในทารกแรกเกิดตัวน้อยของคุณในไม่ช้าก็เร็ว 1. ไขบนหนังศีรษะ มันคืออะไร ? ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร…

อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็กเล็ก

6 อาหารบำรุงสมอง สำหรับลูกน้อยวัยเตาะแตะของคุณ

by

6 อาหารบำรุงสมอง สำหรับลูกน้อยวัยเตาะแตะของคุณ คำว่า You are what you eat ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริง โดยเฉพาะในช่วงก่อนอายุ 2 ขวบ “อาหารบำรุงสมอง” จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก และคุณต้องแน่ใจได้ว่าลูกน้อยของคุณได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต พ่อแม่ทุกคนทราบดีว่าลูกน้อยของคุณต้องการอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อเติบโต แต่คุณรู้หรือไม่ว่าสิ่งที่พวกเขากินยังช่วยพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ขวบมีความสำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาสมอง…

วิธีฝึกวินัยลูกก่อนวัยรุ่น

วิธี “ฝึกวินัยลูกก่อนวัยรุ่น” เมื่อการใช้ time out ไม่ได้ผลอีกต่อไป

by

วิธี “ฝึกวินัยลูกก่อนวัยรุ่น” เมื่อการใช้ time out ไม่ได้ผลอีกต่อไป อาจถึงเวลาที่คุณจะต้องเปลี่ยนมุมมองในการ “ฝึกวินัยลูกก่อนวัยรุ่น” ซะแล้ว เพราะวิธี time out หรือสติกเกอร์ดวงดาวความดีที่คุณเคยใช้เป็นเครื่องมือสร้างวินัยสมัยลูกยังเด็กเริ่มจะไม่ได้ผลอีกต่อไป พ่อแม่หลายคนต่างพบว่าการฝึกวินัยให้เด็กก่อนวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะพวกเขาโต้เถียงกับคุณเกือบตลอดเวลา ลูก ๆ ของคุณเริ่มพูดในสิ่งที่พวกคุณเองไม่เคยพูดกับพ่อแม่ของคุณมาก่อน เช่น ถามคุณว่าทำไมคุณถึงห้ามพวกเขา คุณเริ่มใช้ไม้แข็งกับเขา จะริบ iPad หากเขายังทำงานที่ต้องทำไม่เสร็จ…

เลี้ยงลูกให้พึ่งตัวเองแบบเยอรมัน

เลี้ยงลูกให้พึ่งตัวเอง ตามวิถีชาวเยอรมัน

by

เลี้ยงลูกให้พึ่งตัวเอง ตามวิถีชาวเยอรมัน พ่อแม่สมัยใหม่หลายบ้านเริ่มมีค่านิยมในการ “เลี้ยงลูกให้พึ่งตัวเอง” กันมากขึ้นนะคะ วันนี้ Motherhood เลยจะพาคุณไปทำความรู้จักกับคุณค่าของวัฒนธรรมเยอรมันในแง่ของการพึ่งพาตนเอง ที่คุณสามารถใช้ปลูกฝังให้กับลูก ๆ ของคุณได้ค่ะ วัฒนธรรมการพึ่งพาตนเองตั้งแต่วัยเด็กของเยอรมนีนั้น เราจะเห็นได้ชัดโดยเฉพาะเมื่อไปที่สนามเด็กเล่น ซึ่งเด็ก ๆ จะวิ่งเล่นโดยไม่ต้องมีคนดูแล และเหวี่ยงชิงช้าที่มีโครงสร้างที่ทำจากเชือกและโลหะโดยปราศจากการจับตามองของพ่อแม่ผู้ปกครอง ถ้าเป็นทางฝั่งอเมริกา เราอาจเรียกสิ่งนี้ว่าสไตล์การเลี้ยงดูแบบปล่อย (Free-range) แต่ในเยอรมนีถือเป็นการเลี้ยงดูแบบปกติ ในเบอร์ลิน เด็ก ๆ…