สุขภาพลูก

ก่อนกิน Non-dairy milk

นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนจะให้ Non-dairy milk กับลูก

by

นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้ ก่อนจะให้ Non-dairy milk กับลูก บางคนอาจจะชอบดื่มนมวัว แต่สำหรับผู้ใหญ่หลายคนการดื่มนมวัวก็ไม่น่าอภิรมย์เท่าไรนัก หากคุณไปซูเปอร์มาร์เก็ต คุณจะพบว่าตลาดของ Non-dairy milk หรือนมทางเลือกได้ระเบิดขึ้นแล้ว ราวกับว่าเราสามารถนำทุกอย่างมาทำเป็นนมได้ แต่นมจำพวกนี้อาจไม่ได้ผลิตออกมาเพื่อรองรับโภชนาการที่เด็กวัยหัดเดินต้องการ นี่คือทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับมัน รวมถึงประเภทของนมที่แนะนำและไม่แนะนำ และวิธีเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง ทำไมนมถึงได้รับการแนะนำสำหรับเด็กวัยหัดเดิน เป็นไปได้ว่าคุณเองโตมาโดยได้รับแต่นมวัวเท่านั้น สมัยก่อนกุมารแพทย์สนับแนะนำนมสำหรับกระดูกของเด็กที่กำลังเติบโต ด้วยแคลเซียมที่พบในนม ซึ่งแพทย์แนะนำให้ใช้ทางเลือกอื่นหากคุณแพ้นมเท่านั้น แต่ตอนนี้มีตัวเลือกมากมายโดยไม่จำเป็นว่าต้องเกี่ยวกับอาการแพ้ และกุมารแพทย์ของคุณอาจรู้สึกกับมันแตกต่างไปจากนมวัว…

อวัยวะเพศของตัวอ่อนในครรภ์

“อวัยวะเพศของตัวอ่อน” พัฒนาตอนไหนในครรภ์ ?

by

“อวัยวะเพศของตัวอ่อน” พัฒนาตอนไหนในครรภ์ ? อวัยวะเพศและระบบทางเดินปัสสาวะของทารกเริ่มก่อตัวตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ เพศของทารกถูกกำหนดโดยโครโมโซมจากทั้งพ่อและแม่ แต่อวัยวะเพศชายและหญิงจะมีลักษณะเหมือนกันจนถึงประมาณ 11 สัปดาห์ ระบบทางเดินปัสสาวะของทารกกำลังพัฒนาในเวลาเดียวกันในบริเวณใกล้เคียง และคุณสามารถมองเห็นไต กระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะเพศของทารกระหว่างการสแกนด้วยอัลตราซาวนด์ได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 20 โดยประมาณ พัฒนาการทางเพศของลูกน้อย เพศของทารกถูกกำหนดโดยโครโมโซมเพศที่ได้รับจากสเปิร์ม (X สำหรับเด็กผู้หญิงหรือ Y สำหรับเด็กผู้ชาย) แต่ต้องใช้เวลาสักพักกว่าที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่แท้จริงจะพัฒนา อวัยวะเพศภายใน…

วิธีกำจัดจิ้งจกให้พ้นบ้าน

12 วิธีกำจัดจิ้งจกออกจากบ้านอย่างถาวร

by

12 วิธีกำจัดจิ้งจกออกจากบ้านอย่างถาวร เช่นเดียวกับแมลงสาบ การมีจิ้งจกอยู่ในบ้านอาจทำให้คุณรู้สึกอี๋ได้ เราเชื่อว่าคุณเองก็คงสรรหาสารพัด “วิธีกำจัดจิ้งจก” มาตลอดเวลาอยู่เหมือนกัน อย่าเพิ่งกังวลใจไป เพราะเรามีเคล็ดลับดี ๆ ในการกำจัดจิ้งจกให้พวกมันอพยพออกจากบ้านของคุณอย่างถาวร เป็นที่รู้กันดีว่าจิ้งจกบ้านทั่วไปนำปัญหามาสู่บ้านของคุณ ไข่และมูลของจิ้งจกไม่เพียงแต่ทำให้บ้านของคุณสกปรกเท่านั้น แต่ยังเป็นพาหะนำโรค เช่น ซัลโมเนลลาอีกด้วย ฟังดูน่าขยะแขยงใช่ไหม ? จิ้งจกไม่เพียงแต่ทำให้บ้านของคุณมีกลิ่น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพของครอบครัวและลูก ๆ ของคุณด้วย ก่อนที่จะพยายามจัดการด้วยวิธีธรรมชาติหรือสารเคมีสำหรับปัญหาจิ้งจกของคุณ ให้รู้ไว้ว่าคุณสามารถใช้มาตรการป้องกันเพื่อขจัดสาเหตุที่แท้จริงได้…

เลี้ยงลูกถนัดซ้าย

จะเป็นปัญหามั้ย ถ้า “ลูกถนัดซ้าย” ?

by

จะเป็นปัญหามั้ย ถ้า “ลูกถนัดซ้าย” ? วันนี้ (วันที่ 13 สิงหาคม) เป็นวันคนถนัดซ้าย ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความท้าทายบางประการที่คนถนัดซ้ายต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน แต่คุณควรกังวลไหมว่าลูกของคุณกำลังแสดงอาการถนัดซ้ายหรือเปล่า ? ในโลกที่ดูเหมือนเป็นไปเพื่อคนถนัดขวา บางครั้งพ่อแม่อาจลำบากใจที่เห็นลูกหรือลูกวัยเตาะแตะชอบใช้มือซ้ายมากกว่าถนัดขวา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่มีใครในครอบครัวถนัดซ้าย เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ครูอาจหยิบดินสอออกจากมือซ้ายแล้วใส่ไว้ข้างขวาแทน เพราะถือว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง แต่วันเหล่านั้นก็ผ่านพ้นไปนานแล้ว การถนัดซ้ายเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการของเด็ก ความถนัดมือของเด็กจะได้รับการแก้ไขก่อนเกิดและจะไม่ปรากฏชัดทันทีเมื่อยังเป็นทารก ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าหากทั้งพ่อและแม่ถนัดซ้าย…

น้ำนมแม่ลดลง

4 ปัจจัยที่สามารถลดปริมาณ “น้ำนมแม่”

by

4 ปัจจัยที่สามารถลดปริมาณ “น้ำนมแม่” ปัญหาการปนเปื้อนและขาดแคลนนมผงในหลายประเทศทำให้ผู้คนเพิ่มการให้ความสำคัญกับการเลี้ยงลูกด้วย “น้ำนมแม่” มากขึ้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการและประหยัดสำหรับหลายครอบครัว แต่การเปลี่ยนไปใช้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหรือเพิ่มปริมาณน้ำนมของคุณนั้นไม่ง่ายเหมือนการสับสวิตช์ ปริมาณน้ำนมแม่ที่สามารถผลิตได้หลังคลอดบุตรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ สำหรับแม่บางคนเรื่องนี้ดูเหมือนจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของพวกเธอ แต่บางคนสามารถจัดการได้ด้วยการวางแผนเพิ่มเติมและการสนับสนุนจากเพื่อนและครอบครัว สิ่งที่สามารถลดปริมาณน้ำนมแม่ 1. รู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล ความเครียดเป็นตัวการอันดับหนึ่งในการทำลายการผลิตนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด ระหว่างการอดนอนและการปรับตารางเวลาของทารก ระดับฮอร์โมนบางชนิดที่เพิ่มขึ้น เช่น คอร์ติซอล สามารถลดปริมาณน้ำนมของคุณได้อย่างมาก แม่บางคนเปลี่ยนจากการมีน้ำนมเพียงพอไปจนถึงไม่มีเลยเพราะความเครียด…

มายาคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

14 มายาคติเกี่ยวกับ “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่”

by

14 มายาคติเกี่ยวกับ “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่” เชื่อว่าคุณแม่แทบทุกคนทราบกันดีแล้วว่า “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่” เป็นสิ่งจำเป็น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการให้นมลูกอยู่ในสังคมไม่น้อย ทำให้คุณแม่มือใหม่บางคนรู้สึกกังวลหรือบางครั้งก็มากจนกลายเป็นความรู้สึกผิด วันนี้ Motherhood จะนำเอามายาคติเกี่ยวกับการให้นมลูกมาตีแผ่ให้เห็นข้อเท็จจริงกันค่ะ 1. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องง่าย ทารกเกิดมาพร้อมกับปฏิกิริยาในการค้นหาเต้านมของแม่ อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลายคนต้องการความช่วยเหลือในทางปฏิบัติในการวางตำแหน่งทารกในการให้นมลูก และต้องแน่ใจว่าลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องใช้เวลาและการฝึกฝนสำหรับทั้งแม่และลูก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังต้องใช้เวลามาก ดังนั้น คุณแม่จึงต้องการพื้นที่และการสนับสนุนทั้งที่บ้านและที่ทำงาน 2. เป็นเรื่องปกติที่การให้นมลูกจะเจ็บ –…

ดื่มน้ำเปล่าได้มั้ย

ทารกสามารถ “ดื่มน้ำเปล่า” ได้เมื่อไหร่ ?

by

ทารกสามารถ “ดื่มน้ำเปล่า” ได้เมื่อไหร่ ? โดยทั่วไป ลูกน้อยของคุณไม่จำเป็นต้อง “ดื่มน้ำเปล่า” จนกว่าจะอายุ 6 เดือน จนกว่าจะถึงตอนนั้น พวกเขาจะได้รับความชุ่มชื้นทั้งหมดที่ต้องการจากน้ำนมแม่หรือนมผงต่าง ๆ แม้ในสภาพอากาศร้อน เมื่อลูกน้อยของคุณอายุ 6 เดือน ให้จิบน้ำเมื่อพวกเขากระหายน้ำได้ แต่อย่าให้มากจนเกินไป มิฉะนั้น อาจทำให้พวกเขาปวดท้องหรือทำให้พวกเขาอิ่มเกินกว่าจะกินอย่างอื่นได้ และอย่าให้น้ำทารกของคุณแทนนมแม่หรือนมผงซึ่งเต็มไปด้วยสารอาหารที่ทารกต้องการ นอกจากนั้น ไตของทารกยังไม่โตเต็มที่…

กอดลูกดียังไง

5 ประโยชน์ของการ “กอดลูก” และวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง

by

5 ประโยชน์ของการ “กอดลูก” และวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง ในวันจันทร์ที่สามของเดือนกรกฎาคนเป็นวัน “กอดลูก” สากลค่ะ คุณเองคงจะยังไม่ลืมครั้งแรกที่คุณได้กอดเจ้าตัวน้อยใช่ไหมคะ การอุ้มเขาไว้ในอ้อมแขนของคุณและสัมผัสถึงความอบอุ่นของร่างกายเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมที่ไม่อาจหาใดเปรียบ แต่คุณรู้หรือไม่ว่ามันยังมีประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์นอกเหนือจากความรู้สึกอบอุ่นที่คุณสัมผัสได้ ปรากฎว่าความรู้สึกอบอุ่นเหล่านี้เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจในเชิงบวกในร่างกายของเรา เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาทางอารมณ์ ความรู้ความเข้าใจ และร่างกายของลูกคุณ มาสำรวจประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ 5 ประการของการกอดลูกของคุณกัน 1. การกอดทำให้เด็กฉลาดขึ้น เด็กต้องการการกระตุ้นทางประสาทสัมผัสอย่างมากเมื่อสมองของพวกเขาเติบโตและพัฒนา การศึกษาทารกในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่ไม่ค่อยได้อุ้มเด็กพบว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญาอย่างรุนแรง แต่เมื่อพวกเขาถูกกอดไว้เพียง 20 นาทีต่อวันเป็นเวลา…

พาลูกไปเจาะหู

พาลูก “ไปเจาะหู” เมื่อไหร่ดี ?

by

พาลูก “ไปเจาะหู” เมื่อไหร่ดี ? การพาลูก “ไปเจาะหู” เป็นเรื่องปกติในหลายวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม องค์กรต่าง ๆ เช่น American Academy of Pediatrics (AAP) แนะนำให้ผู้ปกครองรอจนกว่าบุตรหลานจะโตพอที่จะตัดสินใจด้วยตนเองก่อนที่จะพาเขาไปเจาะหู เมื่อค่านิยมทางวัฒนธรรมขัดแย้งกับความเห็นพ้องต้องกันของมืออาชีพ ก็เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจ เมื่อไหร่ที่คุณจะให้ลูกน้อยเจาะหูได้? และจะปลอดภัยหรือไม่ที่จะเจาะหูของทารกแรกเกิด? มีปัจจัยสำคัญบางประการที่คุณต้องพิจารณา ก่อนอื่น ผู้ปกครองควรเข้าใจว่าการเจาะหูของทารกทำให้เด็กตกอยู่ในอันตรายในทันที…

ทารกคอแข็งเมื่อไหร่

“ทารกคอแข็ง” ตอนกี่เดือน ?

by

“ทารกคอแข็ง” ตอนกี่เดือน ? หากคุณเคยได้อุ้มทารกแรกเกิด คุณจะรู้ว่าการคอยพยุงศีรษะเขาไว้มีความสำคัญเพียงใด เพราะช่วง 2-3 เดือนแรกที่ทารกยังไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อคอได้ อาจเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสมาชิกในครอบครัวที่อาจไม่คุ้นเคยกับการอุ้มเด็กแรกเกิด แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป อีกไม่นาน ทารกจะรู้สึกสบายขึ้นละพยุงศีรษะของตัวเองอย่างมั่นใจ แต่เช่นเดียวกับหลาย ๆ อย่าง ทารกทุกคนจะมีพัฒนาการในแต่ละระยะ หากคุณสงสัยว่าเมื่อไหร่ที่ลูกน้อยของคุณจะคอแข็งและเงยคอขึ้นได้ เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับเวลาที่ทารกจะคอแข็งขึ้นและเริ่มเชิดคอขึ้นได้เอง และวิธีที่คุณสามารถกระตุ้นให้พวกเขาก้าวไปสู่พัฒนาการที่ยิ่งใหญ่นี้ได้ เมื่อไหร่ที่ทารกจะเงยหน้าขึ้นได้ ? เมื่ออายุได้ประมาณ 3…